Page 58 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 58

50




               3.2.8 แผนผังถ้ำลอดใหญ่

                              ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำลอดใหญ่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา บ้านท่าด่าน ตำบล

               เกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา พิกัดที่ 443127 ตะวันออก 926460 เหนือ เดินทางโดย
               รถยนต์จากอำเภอเมืองพังงา ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 มุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ แล้วเลี้ยวซ้ายใช้ทาง
                                                             ั
               หลวงหมายเลข 4144 ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวพงงา ระยะทางประมาณ 7.2 กิโลเมตร และนั่งเรือ
               จากอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาถึงถ้ำลอดใหญ่ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร

                              ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำชายฝั่งทะเลหรือถ้ำทะเล ลักษณะช่องลอดใต้ภูเขาทะลุจากด้าน

               หนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งของเกาะ โถงถ้ำหลัก 1 โถง พบประติมากรรมถ้ำที่สวยงาม เช่น หินย้อยย้อนแสง
               หินย้อย หินน้ำไหล และม่านหินย้อย เป็นต้น (รูปที่ 3.23) การสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำเทียบได้กับระดับ 2
               (grade 2) ตามมาตรฐานการสำรวจของสมาคมวิจัยถ้ำของประเทศอังกฤษ (British Cave Research

               Association: BCRA) คณะสำรวจได้กำหนดให้อยู่ระหว่าง ชั้น B (class B) ความยาวโถงหลัก 109.337
               เมตร ความยาวรวม 109.337 เมตร (รูปที่ 3.24)

                              ลักษณะธรณีวิทยา : ภูมิประเทศคาสต์รูปกรวยและคาสต์รูปหอคอย แนวการวางตัวใน
               ทิศเหนือ-ใต้ บริเวณนี้ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ สีเทาปานกลางถึงเทา ชั้นบางถึงชั้นหนา
               เนื้อหินปูนขนาดละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 10 (Dunham, 1962) มีก้อนเชิร์ต

               ลักษณะเป็นเลนส์วางตัวตามแนวการวางตัวของชั้นหิน พบซากดึกดำบรรพ์พวกไครนอยด์สเต็ม หอยฝาเดียว
               แบรคิโอพอด หอยสองฝา ปะการัง และฟองน้ำ มีอายุอยู่ในยุคเพอร์เมียน หรือประมาณ 299-252
               ล้านปีมาแล้ว

                              การเกิดถ้ำลอดใหญ่ : เป็นถ้ำที่เกิดจากการละลายของหินปูน ในอดีตยุคเพอร์เมียน
               เมื่อประมาณ 299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณถ้ำเคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในทะเล

               เป็นจำนวนมาก เช่น ฟูซูลินิด ปะการัง ฟองน้ำ ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็นต้น เมื่อเวลา
               ผ่านไปตะกอนคาร์บอเนตที่สะสมอยู่ในทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน พร้อมทั้ง
               สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในทะเลก็กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก
               ทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาหินปูน พบโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยแตก และรอยเลื่อน

                                                          ิ่
               ภายในชั้นหินจำนวนมาก เป็นต้น น้ำทะเลในอดีตที่เพมระดับสูงขึ้นกัดเซาะเกาะแผ่เป็นบริเวณกว้าง ร่องรอย
               ที่บันทึกตามเกาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาเป็นหลักฐานการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโบราณ
               ร่องรอยดังกล่าวเกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเลในอดีตทำให้เกิดลักษณะเพดานของถ้ำลอดใหญ่
               ที่ค่อนข้างเรียบ คลื่นทะเลกระแทกบริเวณเพดานถ้ำลอดใหญ่จนเกิดกุมภลักษณ์หัวกลับ (รูปที่ 3.23 (ก))

               นอกจากนี้น้ำทะเลกัดเซาะตามแนวรอยแตก รอยเลื่อน จนเกิดถ้ำทะลุจากจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งของ
               เกาะกลางทะเล หลังจากนั้นระดับของน้ำทะเลค่อยๆ ลดลง ปัจจุบันน้ำทะเลกัดเซาะเกาะให้เกิดเว้าทะเล
               (รูปที่ 3.23 (ค)) ในขณะที่ระดับของน้ำทะเลกำลังลดลง น้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
               มีฤทธิ์เป็นกรดออน ไหลซึมเข้าไปตามรอยแตกและรอยเลื่อน ทำให้รอยแตกและรอยเลื่อนขยายขนาดใหญ่ขึ้น
                            ่
               น้ำที่ซึมมาตามรอยแตกและรอยเลื่อนละลายหินปูนไหลเข้ามาในโถงถ้ำแห้งเกิดประติมากรรมถ้ำจำนวนมาก
               เช่น หินย้อย หินย้อยย้อนแสง ม่านหินย้อย และหินน้ำไหล เป็นต้น ดังปรากฎบริเวณถ้ำลอดใหญ่
                              แนวทางในการบริหารจัดการแหล่ง : แหล่งนี้มีศักยภาพในการพัฒนาและการบริหาร

               จัดการอยู่ในระดับปานกลางสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับจังหวัดได้ แหล่งเรียนรู้เรื่องถ้ำทะเล
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63