Page 70 - รายงานสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำ เขตอุทยานแห่งชาติภาคใต้
P. 70

62




               3.2.12 แผนผังถ้ำโกงกาง

                              ข้อมูลทั่วไป : ถ้ำโกงกางตั้งอยู่ในเกาะพนัก เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ตำบล

               เกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา พิกัดที่ 444042 ตะวันออก 906183 เหนือ เดินทางโดย
               รถยนต์จากอำเภอเมืองพังงา ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 มุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ แล้วเลี้ยวซ้ายใช้ทาง
               หลวงหมายเลข 4144 ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวพงงา ระยะทางประมาณ 7.2 กิโลเมตร และนั่งเรือ
                                                             ั
               จากอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาถึงถ้ำโกงกาง ระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร

                              ลักษณะเด่น : เป็นถ้ำชายฝั่งทะเลหรือถ้ำทะเล และถ้ำที่เกิดจากการละลาย น้ำทะเล

               โบราณกัดเซาะเกาะพนักจนเกิดโพรงถ้ำ ลักษณะเป็นช่องลอดใต้ภูเขาทะลุจากปากถ้ำฝั่งด้านที่ติดทะเล
                          ้
               ไปสู่อีกปากถำด้านที่เป็นป่าโกงกาง โถงถ้ำหลัก 1 โถง โถงย่อย 4 โถง พบประติมากรรมถ้ำที่สวยงาม เช่น
               หินย้อย หินน้ำไหล เสาหิน และม่านหินย้อย เป็นต้น (รูปที่ 3.31) เมื่อเดินจากชายฝั่งทะเลผ่านโพรงถ้ำ

               ที่เป็นช่องเข้าไปให้หินปูนจะพบว่าอกด้านเป็นป่าโกงกางที่ล้อมรอบด้วยหน้าผาหินปูนสูงชัน เป็นที่มาของชื่อ
                                            ี
               “ถ้ำโกงกาง” การสำรวจและจัดทำแผนผังถ้ำเทียบได้กับระดับ 4 (grade 4) ตามมาตรฐานการสำรวจของ
               สมาคมวิจัยถ้ำของประเทศอังกฤษ (British Cave Research Association: BCRA) คณะสำรวจได้
               กำหนดให้อยู่ระหว่าง ชั้น B (class B) ความยาวโถงหลัก 111.773 เมตร ความยาวโถงย่อย 33.050 เมตร
               ความยาวรวม 144.823 เมตร (รูปที่ 3.32)


                              ลักษณะธรณีวิทยา : ลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ ถ้ำ แนวของเทือกเขาหินปูน
               มียอดตะปุ่มตะป่ำและยอดแหลมสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอกัน และหลุมยุบ มีแนวการวางตัวในทิศเหนือ-ใต้
               หินปูนบริเวณนี้จัดอยู่ในกลุ่มหินราชบุรี ประกอบด้วย หินปูน หินปูนเนื้อโดโลไมต์ สีเทาปานกลางถึงเทา
               ชั้นหนาถึงไม่แสดงชั้น เนื้อหินปูนขนาดละเอียดมีซากดึกดำบรรพ์ปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ 10 (Dunham,
               1962) มีก้อนเชิร์ตลักษณะเป็นเลนส์วางตัวตามแนวการวางตัวของชั้นหิน พบซากดึกดำบรรพ์พวก

               ไครนอยด์สเต็ม หอยฝาเดียว แบรคิโอพอด หอยสองฝา ปะการัง และฟองน้ำ มีอายุอยู่ในยุคเพอร์เมียน
               หรือประมาณ 299-252 ล้านปีมาแล้ว

                              การเกิดถ้ำโกงกาง : เป็นถ้ำชายฝั่งทะเลหรือถ้ำทะเล และถ้ำที่เกิดจากการละลาย ในอดีต
               ยุคเพอร์เมียนเมื่อประมาณ 299 – 252 ล้านปีก่อน บริเวณถ้ำเคยเป็นทะเลมาก่อนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ใน

               ทะเลเป็นจำนวนมาก เช่น ฟูซูลินิด ปะการัง ฟองน้ำ ไครนอยด์ หอยฝาเดียว และหอยสองฝา เป็นต้น
               เมื่อเวลาผ่านไปตะกอนคาร์บอเนตที่สะสมอยู่ในทะเลผ่านกระบวนทางธรณีวิทยาแข็งตัวกลายเป็นหินปูน
               พร้อมทั้งสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในทะเลก็กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงของ
               แผ่นเปลือกโลกทำให้ชั้นหินถูกยกตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาหินปูน พบโครงสร้างธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง

               รอยแตก และรอยเลื่อนภายในชั้นหินจำนวนมาก เป็นต้น น้ำทะเลในอดีตที่เพิ่มระดับสูงขึ้นกัดเซาะเกาะแผ่
               เป็นบริเวณกว้าง ร่องรอยที่บันทึกตามเกาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาเป็นหลักฐานการเพิ่มขึ้นของ
               ระดับน้ำทะเลโบราณ ร่องรอยดังกล่าวเรียกว่า “เว้าทะเล” นอกจากนี้น้ำทะเลได้กัดเซาะหินปูนตาม
               แนวรอยแตก รอยเลื่อน จนเกิดโพรงถ้ำลอดใต้ภูเขาทะลุจากปากถ้ำฝั่งด้านที่ติดทะเลไปสู่อีกปากถ้ำด้าน

               ที่เป็นป่าโกงกาง และบันทึกร่องรอยภายในถ้ำจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบซากหอยนางรมยักษ์
               (Crassostrea gigas) เป็นซากหอยโบราณกึ่งฟอสซิล โดยหอยนางรมยักษ์ เป็นหอยที่อาศัยอยู่ตามป่าชายเลน
               แนวขอบทะเล และได้สูญพันธุ์ไปนานแล้ว ผิดจากหอยนางรมในปัจจุบันที่ชอบอยู่ตามโขดหิน หลักฐานว่า

               บริเวณเพดานถ้ำเคยเป็นขอบทะเล (รูปที่ 3.31 (ค)) หลังจากนั้นระดับของน้ำทะเลค่อยๆ ลดลง ในขณะที่
               ระดับของน้ำทะเลกำลังลดลง น้ำฝนที่รวมตัวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75