Page 32 - E-Book รายงานสรุปผลการประชุม
P. 32

รายงานสรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
              และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้น

                       การวางแผนสำาหรับอนาคตเรื่อง การรณรงค์การใช้สิทธิด้านการคุ้มครองทางสังคมสำาหรับผู้สูงอายุ

                       เป้าหมาย ผู้สูงอายุทุกคนรับรู้สิทธิด้านการคุ้มครองทางสังคม


               กลยุทธ์            วิธีการ                ตัวชี้วัด        ผู้รับผิดชอบ       แหล่งงบประมาณ

               แสวงหาภาคีและ      ๑) สร้างกลไกการทำางาน  ผู้สูงอายุร้อยละ ๘๐  หน่วยงานหลัก :      -การระดมทุน

               พัฒนากลไกการจัดการ   ร่วมระหว่างหน่วยงาน   รับรู้และเข้าใจสิทธิ  กระทรวงการพัฒนา  จากทุกภาคส่วน
                                    ในระดับพื้นที่ ได้แก่                 สังคมและความมั่นคง
                                    กศน. ชมรมผู้สูงอายุ                   ของมนุษย์ (พม.)
                                    รพสต. พมจ. อบต. ฯลฯ                   หน่วยงานสนับสนุน:

                                  ๒) จัดทำาสื่อที่เหมาะสม                 กระทรวงมหาดไทย

                                    และรณรงค์ให้เข้าถึง                   กศน. และภาคประชา
                                    กลุ่มผู้สูงอายุ                       สังคม

                                  ๓) จัดให้มีระบบติดตาม
                                    ประเมินผลที่ชัดเจน
                                    โดยกลไกในข้อ ๑


              ข้อสังเกตจากวิทยากรกลุ่ม

                       ๑) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม พบว่า ปัญหาอุปสรรคในการดำาเนินงานด้านการคุ้มครอง

              ทางสังคมคือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยพบว่าองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีฐานข้อมูล
              เกี่ยวกับผู้สูงอายุแต่มิได้นำามาแลกเปลี่ยนเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนขับเคลื่อนงาน แต่เป็นลักษณะ
              ต่างหน่วยงานต่างทำา นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายของรัฐส่วนกลางที่ทำาให้การดำาเนินงาน

              ด้านการคุ้มครองทางสังคมไม่ต่อเนื่อง

                       ๒) ด้านองค์ประกอบของกลุ่ม ประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง
              ทางสังคมในกลุ่มวัยผู้สูงอายุ ได้แก่ สำานักงานสถิติแห่งชาติ กองทุนการออมแห่งชาติ สมาคมสภาผู้สูงอายุ

              แห่งประเทศไทย สำานักงานเศรษฐกิจการคลัง องค์การช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่างประเทศ (Help Age International)
              ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
              สำานักงานสนับสนุนทางวิชาการ ๑ กองการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

              รวมทั้งสิ้น ๘ คน ซึ่งมีความชำานาญที่หลากหลายและประสบการณ์ด้านการคุ้มครองผู้สูงอายุในระดับที่แตกต่างกัน

                       ๓) ด้านบรรยากาศของกลุ่ม สมาชิกกลุ่มมีความกระตือรือร้นในการแสดงความคิดเห็น มีความพยายาม
              ที่จะอธิบายเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบ แต่ยังไม่สามารถร่วมกันวางแผนเพื่อยกระดับการทำางานได้เท่าที่ควร

              เนื่องจากสมาชิกกลุ่มบางท่านติดภารกิจ มีความจำาเป็นต้องกลับก่อนเวลาเลิก ทำาให้งานของกลุ่มโดยเฉพาะ
              ด้านการวางแผนไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร

                       ๔) ด้านเวลา ที่ใช้ในการทำากระบวนการค่อนข้างจำากัด ทำาให้ไม่สามารถลงรายละเอียด หรือมีเวลา

              ให้สมาชิกกลุ่มได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อวางแผนพัฒนาการทำางานในอนาคตได้
              ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ





             30
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37