Page 34 - E-Book รายงานสรุปผลการประชุม
P. 34
รายงานสรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
ลำาดับ กิจกรรม หมายเหตุ
ความสำาคัญ (คำาอธิบายเพิ่มเติม)
การให้บริการทางการแพทย์ตอบสนองทุกกลุ่มประชากร เช่น คนพิการ,
๑ แรงงานทั้งใน–นอกระบบ,ผู้สูงอายุ, เด็ก, คนเร่ร่อน ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่ –
สาธารณะ เป็นต้น
การจัดสวัสดิการด้านสุขภาพ จากการได้รับสิทธิในกองทุนประกันสุขภาพ
๒ 3 กองทุนใหญ่ ได้แก่ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ประกันสังคม, เบิกจ่ายตรง –
รวมถึง การทำาประกันชีวิตจากบริษัทเอกชน
การให้ความรู้ รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพ ทั้งภาครัฐ มูลนิธิ เอกชน –
๓ การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการให้ความรู้และการส่งเสริม
สุขภาพ การคัดกรองสุขภาพ การดูแลสุขภาพ –
จากตารางจะเห็นได้ว่า สมาชิกกลุ่มให้ความสำาคัญกับกิจกรรมการให้บริการทางการแพทย์ เป็นอันดับ
ที่ ๑ รองลงมาคือ กิจกรรมการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพ ซึ่งทั้งสองกิจกรรมนี้ จะสังเกตได้ว่าสมาชิกกลุ่มมิได้มี
บทบาทหน้าที่โดยตรงในการตรวจรักษาและจัดสวัสดิการ แต่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพาผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือ
เจ้าหน้าที่บริการสาธารณสุข ความคิดเห็นต่อการคุ้มครองทางสังคมด้านสุขภาพ จึงเป็นมุมมองจากผู้รับบริการ
เป็นหลัก โดยมีความเห็นว่า ทั้งการให้บริการและการจัดสวัสดิการเป็นเรื่องที่สำาคัญและจำาเป็นมากสำาหรับทุกคน
ในขณะที่กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้และกิจกรรมสร้างเครือข่าย สมาชิกกลุ่มบางคนมีการทำากิจกรรมอยู่บ้าง เช่น
การทำาโครงการเผยแพร่ความรู้ด้านป้องกันโรคให้กับแรงงานนอกระบบ โครงการเครือข่ายความร่วมมือดูแลอบรม
ผู้ดูแลคนพิการ เป็นต้น
๒.๒ ประเมินความสำาเร็จของกิจกรรม
ขั้นตอนนี้ ผู้ร่วมประชุม/สมาชิกกลุ่มจะเลือกกิจกรรมที่มีลำาดับความสำาคัญจากขั้นตอนที่ ๒.๑
มาทำา การประเมินว่ากิจกรรมที่ดำาเนินการในช่วงที่ผ่านมา มีความสำาเร็จหรือทำาได้ดีในระดับใด โดยมีค่าคะแนน
๑ – ๑๐ คะแนน (จากน้อยไปมาก) สรุปผลการประเมิน ดังนี้
กิจกรรมที่ดำาเนินการไปแล้วและเลือกมาประเมิน คะแนนความสำาเร็จ (เฉลี่ย)
การให้บริการทางการแพทย์ตอบสนองทุกกลุ่มประชากร เช่น คนพิการ, แรงงาน ๖.๕
ทั้งใน–นอกระบบ,ผู้สูงอายุ, เด็ก, คนเร่ร่อน ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น
การให้ความรู้ รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพ ทั้งภาครัฐ มูลนิธิ เอกชน ๖
การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการให้ความรู้ และการส่งเสริมสุขภาพ ๖
การคัดกรองสุขภาพ การดูแลสุขภาพ
การจัดสวัสดิการด้านสุขภาพ จากการได้รับสิทธิในกองทุนประกันสุขภาพ
3 กองทุนใหญ่ ได้แก่ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ประกันสังคม, เบิกจ่ายตรง รวมถึง ๕.๖
การทำาประกันชีวิตจากบริษัทเอกชน
32