Page 38 - E-Book รายงานสรุปผลการประชุม
P. 38
รายงานสรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
๓.๒ ข้อสังเกต
ผลการประชุมกลุ่มย่อยโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการถอดบทเรียนเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้นั้น พบว่า แม้สังคมไทยจะมีความก้าวหน้าด้านความคุ้มครองทางสังคมมากขึ้น แต่ยังมีความจำาเป็น
ต้องอาศัยการปฏิบัติการเชิงเครือข่ายมากขึ้น ซึ่งเครือข่ายพันธมิตรด้านการคุ้มครองทางสังคมดังกล่าวนี้
ยังต้องการพัฒนาคุณภาพความเป็นเครือข่าย คุณภาพการมีส่วนร่วมระหว่างกัน และคุณภาพการจัดการ รวมทั้ง
คุณภาพการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น จึงจะนำาสู่คุณภาพผลงานด้านการคุ้มครองทางสังคมที่ยกระดับขึ้นได้
อนึ่ง การพัฒนาคุณภาพความเป็นเครือข่ายได้จริง ต้องอาศัยความคุ้นเคย ความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน
(mutual trust) ต้องพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม (social relation) มากกว่าความสัมพันธ์เชิงอำานาจ (power
relation) พัฒนาวัฒนธรรมการใช้ความรู้มากกว่าการใช้อำานาจและความเห็นที่ยังคงมีอยู่และเป็นอุปสรรคต่อการ
พัฒนาความเป็นเครือข่าย อีกทั้งต้องพยายามลดวัฒนธรรมการทำางานแบบแยกเอกเทศจากกันลงเป็นอย่างมากด้วย
นอกจากนี้ ความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักในความเป็นพลวัต สลับซับซ้อน เชื่อมโยงกันของ
ปัญหาสังคม ยังมีความจำาเป็นต้องพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก มิเช่นนั้น การดำาเนินงานด้านการคุ้มครองทางสังคม
จะดำาเนินไปในลักษณะรายเหตุการณ์ (event) มุ่งเน้นที่กิจกรรมแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือการสงเคราะห์จะเกิดขึ้น
โดยต่อเนื่อง แม้ว่ากิจกรรมเช่นนั้นจะมีประโยชน์ แต่จะไม่มีศักยภาพที่จะแก้ไขปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้นได้
๓.๓ ข้อเสนอแนะ
๓.๓.๑ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
๓.๓.๑.๑ ด้านยุทธศาสตร์
๑) ควรกำาหนดให้การคุ้มครองทางสังคมเป็นนโยบายที่สำาคัญของประเทศ มีการกำาหนดเป้าหมาย
การดำาเนินงานที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
๒) ควรมีการจัดทำายุทธศาสตร์การคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย ที่ชัดเจน มีการกำาหนดวิธีการหรือแนวทางในการบรรลุเป้าหมายแต่ละข้อ
มีการจัดทำาตัวชี้วัดสำาหรับการประเมินความก้าวหน้าการดำาเนินงานเพื่อบรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมาย
๓) ควรนำาข้อแนะฉบับที่ ๒๐๒ – ข้อแนะว่าด้วยฐานความคุ้มครองทางสังคม ข้อแนะเกี่ยวกับฐาน
ความคุ้มครองทางสังคมของชาติ ซึ่งได้รับการรับรองในการประชุมขององค์การแรงงานระหว่างประเทศสมัยที่ ๑๐๑
เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ มาสู่การปฏิบัติภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
๓.๓.๑.๒ ด้านกลไกการขับเคลื่อน
๑) ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการคุ้มครองทางสังคม (กพค.) เพื่อเป็นกลไกในระดับชาติ
ด้านนโยบายการคุ้มครองทางสังคม ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน
ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
36