Page 39 - E-Book รายงานสรุปผลการประชุม
P. 39

รายงานสรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
                                       และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้น


                         ๒) ภายใต้ กพค. ควรมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำาเนินงาน อาทิ

                 อนุกรรมการประสานงานและขับเคลื่อนการคุ้มครองทางสังคม อนุกรรมการติดตามประเมินผลการคุ้มครอง
                 ทางสังคม และอนุกรรมการวิชาการและระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการคุ้มครองทางสังคม

                         ๓) นอกจากนี้ อาจจะมีการจัดตั้งคณะทำางานย่อยที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการดำาเนินงานของ
                 คณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ เช่น คณะทำางานด้านกฎหมาย คณะทำางานด้านการจัดทำารายงานการประเมิน

                 การคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทย และคณะทำางานด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

                         ๓.๓.๑.๓ ด้านการติดตามประเมินผล

                         ๑) ควรมีการจัดทำาตัวชี้วัดการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทย เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตาม

                 ประเมินผลความก้าวหน้าการดำาเนินงานด้านการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทย

                         ๒) ควรมีการจัดทำาคู่มือและแนวทางในการติดตามประเมินผลการดำาเนินงาน เพื่อบรรลุเป้าหมาย
                 การคุ้มครองทางสังคมของประเทศ

                         ๓) ควรมีการประเมินการคุ้มครองทางสังคมของประเทศไทยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยใช้ตัวชี้วัด
                 ที่มีการพัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือมีการประเมินผล และมีการนำาผลและข้อเสนอแนะจากการติดตามประเมินผล

                 มาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง


                                               ๓.๓.๒ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ


                         ๓.๓.๒.๑ ข้อเสนอแนะด้านการคุ้มครองทางสังคมสำาหรับเด็ก

                         ๑) ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดให้มีเงินอุดหนุนสำาหรับเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เพื่อลดภาระ

                 ทางเศรษฐกิจสำาหรับมารดาในครอบครัวยากจน ส่งเสริมให้มารดามีโภชนาการที่ดีและเด็กในครรภ์ได้รับ
                 สารอาหารที่ครบถ้วน และเมื่อครบกำาหนดคลอดแล้วจะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการที่ดีและ

                 เหมาะสมตามวัย

                         ๒) ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาทั้งระบบตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียน โดยอาจยึดต้นแบบระบบการศึกษาของ
                 ประเทศฟินแลนด์เป็นแบบอย่าง ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำาคัญ ๗ ด้าน คือ (๑) การไม่เน้นการแข่งขันทางการศึกษา
                 (๒) การทำาให้ครูเป็นอาชีพที่มีศักดิ์ศรีและรายได้สูง (๓) พัฒนาการศึกษาโดยอ้างอิงผลจากงานวิจัยและพัฒนา

                 (๔) ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลงและมุ่งเน้นให้ห้องเรียนเป็นห้องทดลอง (๕) ศึกษาและเรียนรู้ผ่านการเล่น ไม่เน้น
                 การท่องจำา (๖) การศึกษาฟรีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน (๗) มอบหมายการบ้านในปริมาณที่เหมาะสม

                 และส่งเสริมให้เด็กทำากิจกรรมร่วมกับครอบครัว

                         ๓) จัดทำาระบบฐานข้อมูลเด็กในครอบครัวยากจนโดยเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล
                 ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ

                         ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งและการดำาเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนในทุกระดับ












                                                                                                            37
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44