Page 5 - E-Book รายงานสรุปผลการประชุม
P. 5
รายงานสรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
คำานำา
การคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) ถือได้ว่าเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกคน เนื่องจาก
เป็นเครื่องมือและกลไกเพื่อให้ความคุ้มครอง และเป็นหลักประกันทางสังคมจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีต่อกลุ่ม
ที่เปราะบางมากที่สุดในสังคม อาทิ เด็กและเยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมอื่น ๆ
เปรียบได้กับการเสริมสร้างตาข่ายทางสังคม เพื่อรองรับกลุ่มคนที่อ่อนแอและเปราะบางในสังคม ไม่ให้เป็นบุคคล
ตกหล่น หรือถูกทอดทิ้งจากสังคม และให้สามารถดำารงชีวิตได้ตามฐานานุรูป บนหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ในระดับอาเซียน ประเทศไทยได้มีบทบาทสำาคัญในการผลักดันให้มีการจัดทำาเอกสารสำาคัญของอาเซียน
ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ทางมาตรการคุ้มครองทางสังคม (ASEAN Declaration on Strengthening Social Protection) และกรอบ
การทำางานในระดับภูมิภาคและแผนการดำาเนินการตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ทางมาตรการคุ้มครองทางสังคม (Regional Framework and Action Plan to Implement the ASEAN
Declaration on Strengthening Social Protection) สำาหรับการดำาเนินการภายในประเทศ รัฐบาลชุดปัจจุบัน
ภายใต้การนำาของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำาหนดให้การลดความเหลื่อมลำ้าของสังคม
และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ และการยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพ
ของประชาชน เป็นนโยบายที่สำาคัญด้านสังคม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาแรงงาน การพัฒนาระบบการคุ้มครอง
ทางสังคม ระบบการออมและระบบสวัสดิการชุมชน การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การจัดสวัสดิการ
ทุกช่วงวัย และการให้บริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน ซึ่งเป็นหลักประกันความมั่นคงทางสังคม
ที่ควรมีให้กับทุกคน
ดังนั้น กองการต่างประเทศ สำานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้จัด
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคม การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศ ด้านการคุ้มครองทางสังคม
เพิ่มมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สำาคัญเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองทางสังคม ตลอดจน
ร่วมกันพัฒนาแนวทางการดำาเนินงานด้านการคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมากขึ้น
ทั้งนี้ ภายหลังที่ได้มีการจัดประชุมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้มีการจัดทำารายงานสรุปผลการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ
โดยเป็นที่คาดหวังว่า หน่วยงาน องค์กร ตลอดจนผู้ที่สนใจโดยทั่วไป จะได้นำาผลที่ได้รับและข้อเสนอแนะ
จากการประชุมเชิงวิชาการดังกล่าวข้างต้น ไปสู่การพัฒนาการดำาเนินงานด้านการคุ้มครองทางสังคมภายในประเทศ
ให้เป็นรูปธรรม ตลอดจนส่งเสริมให้มีการกำาหนดนโยบายในการขยายฐานการคุ้มครองทางสังคมภายในประเทศ
ให้ครอบคลุมประชาชนโดยถ้วนหน้า ทำาให้เกิดความอยู่ดีมีสุขอย่างถ้วนหน้า สอดคล้องกับวิสัยทัศน์
ประเทศไทย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ต่อไป
กองการต่างประเทศ
สำานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์