Page 9 - E-Book รายงานสรุปผลการประชุม
P. 9

รายงานสรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
                                       และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้น


                                                           บทที่ ๑


                             บทนำา หลักคิด และการออกแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ




                 ๑.๑ หลักการและเหตุผล


                         การคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) เป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของคนเรา ในระดับสากล
                 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization – ILO) ได้ให้นิยามของการคุ้มครอง

                 ทางสังคม หมายถึง เครื่องมือเพื่อให้ความคุ้มครอง หรือหลักประกันทางสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น กฎหมาย
                 ระเบียบข้อบังคับ เป็นต้น โดยการมีระบบการคุ้มครองทางสังคมแบบถ้วนหน้า จะเป็นหลักประกันความมั่นคง

                 ทางสังคมให้แก่ทุกคน ซึ่งการคุ้มครองทางสังคมจะมีฐานการคุ้มครองทางสังคม (Social Protection Floor)
                 อันเป็นชุดของสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้สมาชิกทุกคนในสังคม ได้มีโอกาส
                 ในการเข้าถึงสินค้าและบริการ ขั้นพื้นฐานได้ตลอดเวลา โดยฐานการคุ้มครองทางสังคมครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ เช่น

                 ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขขั้นพื้นฐานโดยถ้วนหน้า เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงการโภชนาการ การศึกษา
                 ประชาชนในวัยทำางานควรมีความมั่นคงทางรายได้ ผู้สูงอายุและผู้พิการมีความมั่นคงทางรายได้ สามารถดำารงชีวิต

                 อยู่ได้ เป็นต้น ซึ่งประเด็นสำาคัญที่เกี่ยวข้องประการหนึ่งของระบบการคุ้มครองทางสังคม คือ นโยบายของภาครัฐ
                 และการพิจารณาในด้านงบประมาณ การจัดสรรทรัพยากรด้านการเงิน เพื่อกำาหนดระบบการคุ้มครองทางสังคม
                 ได้อย่างครอบคลุม ทั่วถึง และสร้างโอกาสให้กับคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส

                 ทางสังคมสามารถดำาเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี และพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว

                         ในระดับอาเซียน การคุ้มครองทางสังคม หมายถึง “การช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยนโยบายและ
                 แผนงานที่ออกแบบมาเพื่อลดความยากจน ความไม่เสมอภาคกัน และความเปราะบาง โดยการช่วยเหลือคนยากจน

                 บุคคลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำากัดเพียง คนพิการ ผู้สูงอายุ เยาวชน สตรี เด็ก ผู้ที่อยู่ในสภาวะ
                 ทุพโภชนาการ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ และแรงงานข้ามชาติ และรวมถึงการช่วยเหลือต่อครอบครัว

                 และชุมชน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้สามารถจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้นและเพิ่มการเข้าถึงบริการที่สำาคัญ
                 และโอกาสต่าง ๆ โดยเสมอภาคกันตามแนวทางการทำางานฐานสิทธิ/ความต้องการจำาเป็น”

                         ที่ผ่านมาประเทศไทย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีบทบาทสำาคัญ
                 ในการผลักดันให้มีการจัดทำาเอกสารสำาคัญของอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                 การจัดทำาปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางมาตรการคุ้มครองทางสังคม (ASEAN Declaration
                 on Strengthening Social Protection) ซึ่งผู้นำาอาเซียนได้มีการรับรอง ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๒๓

                 เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๖ ณ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ปฏิญญาดังกล่าวเป็นเครื่องมือยืนยันว่าทุกคนในสังคม โดยเฉพาะ
                 คนยากจน กลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กที่ไม่ได้เข้าเรียน เด็ก แรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน และกลุ่มคนเปราะบางอื่น ๆ
                 จะได้รับสิทธิในการเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้

                 ผู้นำาอาเซียน ยังได้รับรองกรอบการทำางานในระดับภูมิภาคและแผนการดำาเนินการตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วย
                 การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางมาตรการคุ้มครองทางสังคม (Regional Framework and Action Plan to

                 Implement the ASEAN Declaration on Strengthening Social Protection) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน
                 ครั้งที่ ๒๗ ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นการแปลงปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้าง
                 ความเข้มแข็งทางมาตรการคุ้มครองทางสังคมไปสู่การปฏิบัติ


                                                                                                             7
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14