Page 11 - E-Book รายงานสรุปผลการประชุม
P. 11
รายงานสรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
• ผู้แทนภาคประชาสังคม
• ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ
• ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ สำานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์
๑.๔ การออกแบบการประชุมปฏิบัติการ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการประชุมปฏิบัติการฯ การออกแบบการประชุมจึงคำานึงถึงเรื่อง
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เป็นหลักและโดยที่หน่วยการดำาเนินงานด้านการคุ้มครองทางสังคมครั้งนี้ คือ ผู้ปฏิบัติ
ในระดับส่วนกลาง หน่วยการวิเคราะห์และปฏิบัติการ (unit of operation) จึงเน้นที่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
การกำาหนดกลยุทธ์ และแนวทางปฏิบัติในระดับภาพรวมเป็นสำาคัญ
ด้วยเหตุที่ขอบเขตของการคุ้มครองทางสังคมมีลักษณะพลวัต เชื่อมโยง มีความสลับซับซ้อนสูง
การออกแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ จึงพยายามสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก รวมถึงฐานความคิด
และปฏิบัติการทางสังคมที่สอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่มีลักษณะดังกล่าว พยายามชี้ให้เห็นว่าการคุ้มครองทางสังคม
ในกลุ่มประชากรต่าง ๆ จำาเป็นต้องมีความคิดในระดับซับซ้อน
สภาพปัญหาที่มีความซับซ้อนสูง มีความจำาเป็นต้องมีปฏิบัติการเชิงรุก หรือเชิงยุทธศาสตร์รองรับ
เพื่อการทำางานร่วมกันในแนวทางเครือข่ายพันธมิตรจึงออกแบบการประชุมให้มีเนื้อหาสาระเป็น ๒ ส่วน คือ
ส่วนที่ ๑ เป็นภาคการบรรยายให้ความรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ
สถานการณ์ในปัจจุบัน ในเรื่อง การคุ้มครองทางสังคมในอาเซียน และ ระบบคุ้มครองทางสังคม: สถานการณ์ใน
ปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาสู่ฐานการคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย (เอกสารในภาค
ผนวก)
ส่วนที่ ๒ เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างภาคีที่ร่วมขับเคลื่อนงาน
ด้านการคุ้มครองทางสังคม ได้ออกแบบกระบวนการโดยประยุกต์ใช้การถอดบทเรียนเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ยึดหลักการสำาคัญคือ “มุ่งเน้นการมองอนาคต ทำาสิ่งที่ดีขึ้นในอนาคต” มากกว่า “แสวงหาความล้มเหลวของผลงาน
ในอดีต” และเน้นเฉพาะประเด็นที่มีความสำาคัญเป็นพิเศษหรือเป็นจุดคานงัด (จุดที่มีพลังต่อการเปลี่ยนแปลง)
สำาหรับการวางแผนเพื่อความสำาเร็จในอนาคต
เพื่อให้เวทีประชุมปฏิบัติการครั้งนี้บรรลุผล จึงได้จัดให้มีวิทยากรกระบวนการ (facilitator) ประจำากลุ่ม
ทำาหน้าที่จัดให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลักคิดข้างต้นระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการที่มาจาก
ต่างสังกัดกัน
สำาหรับผลของการประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ จะนำาเสนอในบทต่อไป
9