Page 12 - E-Book รายงานสรุปผลการประชุม
P. 12
รายงานสรุปผล การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำาเสนอความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองทางสังคมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ
และกลยุทธ์ที่ดี เพื่อผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
บทที่ ๒
ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ
๒.๑ ผู้เข้าร่วมประชุมและการจัดกลุ่ม
ปฏิบัติการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้และกำาหนดแนวทางปฏิบัติด้านการคุ้มครองทางสังคม” ดำาเนินการ
เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐ ณ โรงแรม ไพร์ม เซ็นทรัล สเตชั่น กรุงเทพฯ โดยผู้เข้าร่วมกระบวนการประกอบด้วย
บุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองทางสังคม รวมทั้งสิ้นจำานวน ๘๑ คน
แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติและกลยุทธ์ที่ดี และจัดทำาแผนในการผลักดันให้มีการจัดสรร
ทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มมากขึ้นเป็น ๔ กลุ่ม มีคณะวิทยากรเป็นผู้อำานวย
ความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้
กลุ่มที่ ๑ การคุ้มครองทางสังคมสำาหรับเด็ก
กลุ่มที่ ๒ การคุ้มครองทางสังคมสำาหรับวัยแรงงาน
กลุ่มที่ ๓ การคุ้มครองทางสังคมสำาหรับวัยผู้สูงอายุ
กลุ่มที่ ๔ การคุ้มครองทางสังคมด้านสุขภาพ
๒.๒ ขั้นตอนการประชุมปฏิบัติการฯ
กระบวนการประชุมฯ ได้ประยุกต์แนวทางการถอดบทเรียน โดยจำาแนกเป็น ๒ ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ ๑ เป็นขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของผู้เข้าร่วมประชุม โดยให้มีการทบทวนตนเองก่อน
การปฏิบัติการระดมความเห็นกลุ่ม โดยใช้ชุดคำาถามของการถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติ (After Action Review – AAR)
รวม ๕ คำาถาม
ข้อที่ ๑ ท่านคาดหวังผลลัพธ์ ความสำาเร็จของการดำาเนินงานด้านการคุ้มครองทางสังคมอย่างไร
ข้อที่ ๒ ผลลัพธ์ ความสำาเร็จของการดำาเนินงานที่เกิดขึ้นจริงเป็นอย่างไร
ข้อที่ ๓ เพราะเหตุใดผลลัพธ์ความสำาเร็จที่คาดหวังและที่เกิดขึ้นจริงจึงมีความแตกต่างกันอยู่
ข้อที่ ๔ มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นจากการทำางานด้านการคุ้มครองทางสังคมในช่วงที่ผ่านมาอย่างไร
ข้อที่ ๕ ข้อเสนอแนะที่จะทำาให้การทำางานด้านการคุ้มครองทางสังคมดีขึ้น ในอนาคต
ขั้นตอนที่ ๒ เป็นการระดมความคิดเห็นของกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติและกลยุทธ์ที่ดี และจัดทำา
แผนในการผลักดันให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินภายในประเทศด้านการคุ้มครองทางสังคม โดยให้
ผู้เข้าร่วมประชุมมองสถานการณ์ด้านคุ้มครองทางสังคมในภาพรวม ขั้นตอนนี้ประยุกต์ใช้ “ขั้นตอนการถอด
บทเรียนโดยการประเมินแบบเสริมพลัง” (Empowerment Evaluation – EE) ๓ ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ ๑ การกำาหนดภารกิจ/เป้าหมายที่คาดหวัง
10