Page 10 - Chapter 8
P. 10
7
ใบความรู้ที่ 1
เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถระบุตัวร่วมของสมการเคมีที่เกิดปฏิกิริยาหลายขั้นได้
2. นักเรียนสามารถดุลสมการย่อยและรวมสมการย่อยได้
ปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอน
ในกรณีที่ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นต่อเนื่องหลายขั้นตอน จะมีสมการเกี่ยวข้องมากกว่า 1 สมการ
การค านวณปริมาณของสารจากปฏิกิริยาที่กล่าวมานี้ยังคงมีลักษณะคล้ายกับการค านวณจากสมการเดียว
ที่ผ่านมา คือ พิจารณาเฉพาะตัวที่โจทย์ถามและที่โจทย์ก าหนดให้เท่านั้น น าจ านวนโมลมาเทียบอัตราส่วน
กัน ซึ่งจะท าให้ค านวณสิ่งที่ต้องการได้ ข้อที่แตกต่างไปจากการค านวณจากสมการเดียว คือ ต้องท า
สมการหลาย ๆ สมการเหล่านี้ให้ดุลแบบต่อเนื่อง (คือท าให้จ านวนโมลของสารที่เป็นตัวร่วมระหว่าง
สมการให้เท่ากัน)
สมมติว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นดังนี้
A + 2B 3C ……….. (1)
2C + 3X 2Y ..………(2)
สมการทั้ง 2 จะท าให้ดุลแบบต่อเนื่องได้ จะต้องอาศัยสาร C เป็นตัวร่วม ทั้งนี้เพราะสาร C
เป็นต้นเหตุที่ท าให้การเปลี่ยนแปลงต่อไปอีก
สมการที่ดุลแบบต่อเนื่องจะมีจ านวนโมลของ C เท่ากัน ซึ่งท าได้ดังนี้
สมการ (1) x 2 ; 2A + 4B 6C ……….. (3)
สมการ(2) x 3 ; 6C + 9X 6Y ……….. (4)
จากสมการที่ (3) และ (4) จะเห็นได้ว่ามี C 6 โมลเท่ากัน เรียกสมการ (3) และ (4)
ซึ่งมี C หรือตัวร่วมเท่ากันว่าเป็นสมการที่ดุลแบบต่อเนื่อง ซึ่งสามารถน าไปค านวณสิ่งที่ต้องการได้
การพิจารณาว่าสารใดจะเป็นตัวร่วมระหว่างสมการ เพื่อให้ดุลแบบต่อเนื่องต้องยึดหลักว่า
“สารที่จะเป็นตัวร่วม คือสารที่เป็นต้นเหตุของการเกิดปฏิกิริยาแบบต่อเนื่องนั้น”