Page 21 - HistoryofNakornratchasima
P. 21
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดนครราชสีมา
ปรากฏขึ้นราว ๔,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยเฉพาะแถบอ�าเภอโนนสูง อ�าเภอสูงเนิน
และอ�าเภอสีคิ้ว ซึ่ึ่งเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบมีแหล่งน�้าที่ใช้ได้สะดวกมีทั้งแหล่งโบราณคดี
ที่เป็นชุมชน มีการตั้งถิ่นฐานยาวนานต่อเนื่องกันหลายสมัย สะท้อนว่าบริเวณที่ตั้ง
มีความเหมาะสมแก่การด�ารงชีพและเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในสมัยนั้น
ชุมชนโบราณในภูมิภาคนี้เรียกตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ว่า “แอ่งโคราช” มีลักษณะ
เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนเนินดิน มีคูน�้าคันดินรอบล้อม บางแห่งล้อมรอบถึง ๓ ชั้น ทั้งยัง
พบว่ามีการสร้างสระเก็บน�้า คันกั้นน�้า และทางสัญจรเชื่อมต่อระหว่างชุมชน (กรมศิลปากร,
๒๕๕๘ : ๔๙)
หลักฐานทางโบราณคดีพบว่า ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
มีการตั้งชุมชนในบริเวณใกล้กับแหล่งน�้าและมีความเจริญในระดับสังคมเกษตรกรรม
รู้จักการปลูกข้าวเหนียวที่มีความคล้ายกับข้าวเหนียวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เหนียวมะดัน
ในบางชุมชนมีการผลิตภาชนะดินเผาคุณภาพดีและมีรูปแบบเฉพาะตัว ได้แก่ ภาชนะ
ดินเผาแบบพิมายด�า (Black Phimai)
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือ ยุคโลหะตอนปลาย จากการส�ารวจทาง
โบราณคดีในพื้นที่จังหวัดนี้พบว่ามีการใช้เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับส�าริดจ�าพวกแหวน
ก�าไล และกระพรวน ภาชนะดินเผาที่เป็นลักษณะเด่นในสมัยนั้นคือ ภาชนะเคลือบน�้าดิน
สีแดงขัดมัน และภาชนะเขียนสีบนพื้นสีครีม ลักษณะของแหล่งโบราณคดีหลายแห่งแสดง
ให้เห็นถึงการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมการผลิตเกลือ การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้โลหะ
ทั้งที่เป็นส�าริดและเหล็ก นอกจากนี้ยังพบว่ามีวัฒนธรรมการฝังศพหลายรูปแบบ
แตกต่างกันแบ่งตามชนชั้นทางสังคม สันนิษฐานได้จากหลักฐานการขุดพบเครื่องประดับ
ในหลุมฝังศพ รวมถึงหลักฐานภาพเขียนสีที่เขาจันทร์งามเป็นภาพเขียนบุคคลสวมใส่
เครื่องแต่งกายที่แตกต่างกัน (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๕๑)
รู้เรื่องเมืองโคราช ท่องประวัติศาสตร์และอารยธรรมขอม 19