Page 5 - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยาเสพติด]
P. 5

ฤทธิ์ทางเสพติด:
                อารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลง ความคิดเลื่อนลอยสับสน ความคุมตัวเองไม่ได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความจ าเสื่อม
                กล้ามเนื้อลีบ หัวใจเต้นเร็ว หูแว่ว หลายคนคิดว่าการเสพกัญชานั้น ไม่มีโทษภัยร้ายแรงมากนัก แต่จากการศึกษา
                วิจัย พบว่า กัญชาเป็นยาเสพติดอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพมากเกินกว่าที่คาดคิด เช่น ท าลาย
                ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ท าลายสมอง ปอด

                โทษทางกฎหมาย :
                จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

                กระท่อม (Kratom) :
                กระท่อม เป็นพืชเสพติดชนิดหนึ่ง ส่วนมากพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและในเอเชียตะวันออก
                เฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทย ลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีแก่นเป็นเนื้อไม้แข็ง
                ใช้ส่วนของใบเป็นสิ่งเสพติด ลักษณะใบคล้ายกระดังงาหรือใบฝรั่งต้นหนาทึบ ต้นกระท่อมมี 2 ชนิด คือ
                ก้านเขียวและก้านแดง



                ฤทธิ์ในทางเสพ :
                ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติด
                ทางจิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง ท างานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดดไม่รู้สึกร้อน ท าให้
                ผิวหนังไหม้เกรียมมีอาการมีนงง ปากแห้ง นอนไม่หลับ ท้องผูก แต่จะรู้สึกหนาวสั่น เมื่อมีอากาศชื้น หรือเมื่อฝนฟ้ า
                คะนอง ร่างการทรุดโทรม มีอาการประสาทหลอน จิตใจสับสน

                โทษทางกฎหมาย :
                กระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522


                เห็ดขี้ควาย (Magic Mushroom) :
                เห็ดขี้ควายเป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่ตามกองมูลควายแห้ง สีของเห็ดจะมีสีเหลืองซีด คล้ายสีฟางแห้ง บนหัวของร่ม
                จะมีสีน ้าตาลเข้มจนถึงสีด าบริเวณก้าน (Stalk) บริเวณใกล้ตัวร่มจะมีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ สีขาว แผ่ขยายออก
                รอบก้าน แผ่นนี้มีลักษณะคล้ายวงแหวน

                ฤทธิ์ในทางเสพติด :
                ในเห็ดขี้ควายมีสารออกฤทธิ์ท าลายประสาทอย่างรุนแรงคือ ไซโลซีน และ ไซโลไซบีน ผสมอยู่ ซึ่งออกฤทธิ์
                หลอนประสาท เมื่อบริโภคเข้าไปจะท าให้มีอาการเมา เคลิบเคลิ้มและบ้าคลั่งในที่สุด หากบริโภคเข้าไปมากๆ
                หรือผู้ที่บริโภคเข้าไปมีภูมิต้านทานน้อย อาจท าให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

                โทษทางกฎหมาย :
                เห็ดขี้ควายจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522


                จี เอช บี (GHB) :
                GHB หรือ Gamma-hydrocybutyrate จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 1
                ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518

                ฤทธิ์ทางเสพติด :
                การออกฤทธิ์ของ GHB จะกดประสาทในระยะแรก คือลดอาการวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับ และท าให้สลบ
                (ขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ใช้) ถ้าใช้ในปริมาณมากหรือใช้ร่วมกับยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ชนิดอื่นๆ อาจท าให้
                ื้เสียชีวิตได้

                โทษทางกฎหมาย :
                จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
                พ.ศ. 2518
   1   2   3   4   5   6   7