Page 42 - Demo
P. 42

 6. อนุสัญญําว่ําด้วยสิทธิเดก็
 “อนุสัญญําว่ําด้วยสิทธิเด็ก”มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยํายน พ.ศ. 2533 ปัจจุบัน อนุสัญญําฉบับนี้มีภําคีสมําชิกถึง 195 ประเทศ คงเหลือเพียง 2 ประเทศเท่ํานั้นที่ยังไม่เข้ําเป็นภําคี สมําชิกคือประเทศโซมําเลียและสหรัฐอเมริกํา ในส่วนของประเทศไทยได้เข้ําเป็นภําคีสมําชิก อนุสัญญํานี้เมื่อวันที่ 27 มีนําคม พ.ศ. 2535 และมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยในฐํานะเป็นกฎหมําย ระหว่ํางประเทศเมื่อวันที่ 26 เมษํายน พ.ศ. 2535 มีหลักกํารสําคัญสองประกําร คือ
1. สิทธิของเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องที่รัฐหรือใครให้กับเด็ก แต่เป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่มีติดตัวมํา ตั้งแต่เกิด ซึ่งอนุสัญญําใช้คําว่ํา “สิทธิติดตัว” (inherent rights) ดังนั้น เด็กจึงเป็นผู้มีสิทธิที่ไม่มีผู้ใด สํามํารถไปตัดทอนหรือจํากัดกํารใช้สิทธิอันชอบธรรมของเด็กหรือละเมิดสิทธิของเด็กได้
2. ในกํารดําเนินกํารต่ําง ๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก จะต้องคํานึงถึงสิทธิเด็กและที่สําคัญที่สุดคือ ต้องยึดถือหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก (the best interest of the child) เป็นข้อพิจํารณําในกําร ดําเนินกําร
อนุสัญญําว่ําด้วยสิทธิเด็กมุ่งคุ้มครองสิทธิ 4 ประกําร ดังนี้
1. ในกํารอยู่รอด (Right of survival) กล่ําวคือ เด็กทุกคนเมื่อเกิดมํา มีสิทธิที่จะใช้ชีวิต อยู่ไม่ว่ําจะเกิดมําพร้อมกับร่ํางกํายที่ผิดปกติหรือไม่สมบูรณ์ก็ตําม โดยที่เด็กต้องได้รับกํารจดทะเบียน ตั้งแต่แรกเกิดและได้รับสิทธินี้ได้โดยปริยําย รวมไปถึงสิทธิที่จะได้ถูกกํารเลี้ยงดูทั้งทํางร่ํางกําย (มีสิทธิ ที่จะได้รับอําหํารในปริมําณที่เพียงพอและสะอําด) สภําพจิตใจ ตลอดจนที่อยู่อําศัยที่ต้องให้ควําม ปลอดภัยควํามปลอดภัย โภชนํากํารและกํารบริกํารทํางกํารแพทย์ (กํารได้รับสิทธิวัคซีนป้องกันโรคต่ํางๆ)
2. สิทธิได้รับกํารคุ้มครอง (Right of protection) เป็นสิทธิที่เด็กจะได้รับกํารปกป้องคุ้มครอง ให้รอดพ้นจํากกํารทํารุณทุกรูปแบบ เช่น กํารทํารุณทั้งทํางกําย จิตใจ ทํางเพศ และกํารใช้แรงงําน ที่ได้รับผลประโยชน์จํากกํารทํางํานของแรงงํานเด็ก ทําให้เด็กขําดกํารเรียนรู้และกํารพัฒนํา ไม่ว่ํามํา จํากจํากพ่อ แม่ หรือไม่ว่ําจะมําจํากผู้ใดก็ตําม อีกทั้งสิทธินี้ยังคุ้มครองไปถึงเด็กที่หลบภัยจํากอันตรําย อพยพมําในประเทศของรัฐภําคี ก็ต้องได้รับกํารคุ้มครองด้วยเช่นกัน
3. สิทธิในด้ํานพัฒนํากําร (Right of development) เด็กทุกคนที่เกิดมํา จะได้รับสิทธิให้ มีสภําพควํามเป็นอยู่ที่เหมําะสมกับกํารพัฒนําทั้งด้ํานร่ํางกําย จิตใจ สังคม ตลอดจนควํามพึงพอใจ และควํามสุข กํารมีกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัว หรือของโรงเรียน และเด็กต้องได้รับกํารศึกษํา ที่ดีได้รับกํารศึกษําขั้นพื้นฐําน12 ปีได้รับอําหํารที่เหมําะสมกับวัยได้รับกํารเล่นสนุกกํารพักผ่อน และรับรู้ข่ําวสํารอย่ํางเช่นผู้ใหญ่
4. สิทธิกํารมีส่วนร่วม(Right of participation) เป็นสิทธิที่ให้ควํามสําคัญแก่เด็กเท่ํา เทียม กับผู้ใหญ่ คือ เด็กมีสิทธิแสดงออกทั้งด้ํานควํามคิดและกํารกระทํา สํามํารถเรียกร้องสิทธิในกําร ปกป้องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของตนเองได้ และอนุญําตให้เด็กมีส่วนร่วมให้กํารตัดสินใจ ในเรื่องต่ํางๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเองโดยควํามคิดนั้นต้องไม่กระทบกับสิทธิและเสรีภําพของผู้อื่นด้วย ในกฎหมํายของประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน พระรําชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้บัญญัติ หลักเกณฑ์ในกํารสงเครําะห์ปกป้องสวัสดิภําพและคุ้มครองกํารละเมิดสิทธิเด็กไว้หลํายประกําร ตํามอนุสัญญําว่ําด้วยสิทธิของเด็กตํามที่กล่ําวในตอนแรก
 26
 
























































































   40   41   42   43   44