Page 5 - บทความรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
P. 5
2) สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จ านวน 4 ชนิด ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ส าหรับการ
วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นเอกสารค าสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ผลการปฏิบัติงาน แนวนโยบาย และ
มาตรการการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย 2) แบบสัมภาษณ์ มีทั้ง
แบบสัมภาษณ์ที่เป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการ เพื่อใช้สัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการลักลอบตัดไม้
พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าใน
ประเทศไทยของหน่วยงานทั้ง 4 แห่ง 3) แบบสังเกต เป็นการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมเพื่อหา
ประเด็นและข้อมูลวิจัยเพิ่มเติมในหาข้อมูลของกระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย 4) แบบสนทนากลุ่ม เป็น
การสังเคราะห์และน าเสนอรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศ
ไทยจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิจากสหสาขาวิชาชีพ แล้วน าไปตรวจสอบความถูกต้องและ
ความเที่ยงตรงของเครื่องมือวิจัย
ขั้นตอนที่ 2 ศึกษากระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
ผู้วิจัยวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่และรับผิดชอบในการ
ป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย 4 หน่วยงาน และวิเคราะห์
กระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทยใน 7 ประเด็น ได้แก่ 1) ความนิยมไม้พะยูงใน
ประเทศและต่างประเทศ 2) ลักษณะการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย 3) สถานการณ์การ
ลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย 4) รายงานการกระท าผิดกฎหมายเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้
พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย 5) กลุ่มขบวนการลักลอบตัดไม้และขนย้ายไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
6) ความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศ
ไทย และ 7) ข้อเท็จจริง ปัญหาและอุปสรรคของการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่า
ในประเทศไทย
ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาสภาพการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
ผู้วิจัยศึกษาและสังเคราะห์ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่และรับผิดชอบในการ
ป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) กรมป่าไม้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร และ 4) กองบังคับการปราบปรามเกี่ยวกับการกระท าผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม โดยศึกษาแนวนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าของ
รัฐบาล และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าของรัฐบาลในช่วงปี
พ.ศ. 2557-2560
ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนารูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าใน
ประเทศไทย
ผู้วิจัยน าผลการศึกษาและวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1-3 มาเป็นข้อมูลส าหรับการพัฒนารูปแบบการ
ป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย ผ่านกระบวนการ 3 ประการ คือ 1)
การสังเคราะห์การป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย 2) การพัฒนา
รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย และ 3) ข้อเสนอแนะในการน า
รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย