Page 10 - บทความรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
P. 10
การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการครอบครองหรือใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ 6) การหยุดยั้ง
และป้องกันการท าลายทรัพยากรป่าไม้เชิงพื้นที่ 7) การเพิ่มและพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ตามเป้าหมาย 8) การ
ผลักดันพื้นที่ป่าไม้ให้เป็นมรดกโลก 9) การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการครอบครอง
หรือใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ 10) การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 11) การสนับสนุนและ
พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการปฏิรูปทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า 1 2 ) การจัดท าแผนการ
ใช้ที่ดินของชาติทั้งระบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศ
ส่วนมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าของรัฐบาล ในช่วงปี
พ.ศ. 2557-2560 1. มาตรการเร่งด่วน คือ การก าหนดนโยบายบริหาร(แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ/
บุคลากร) โดยก าหนดให้การคุ้มครองป้องกันไม้พะยูงเป็นวาระแห่งชาติ การประสานความร่วมมือกับ
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก ากับติดตามและด าเนินคดีทางกฎหมาย โดยการ
ลักลอบตัดและค้าไม้พะยูงเป็นคดีพิเศษ 2. มาตรการระยะยาว การก าหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
ไม้พะยูงของกลางที่ได้มาจากการกระท าความผิดให้ชัดเจน โดยไม่ต้องก่อให้เกิดวงจรของการลักลอบตัดและ
ค้าไม้พะยูงอีกต่อไป รวมทั้งการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงใน
สถานการณ์ปัจจุบัน โดยพิจารณาเพิ่มบทลงโทษผู้กระท าความผิดโดยเฉพาะการลักลอบตัดและค้าไม้พะยูง
อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ระดับประเทศ
(ฝ่ายไทย) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา ซึ่งเป็น
พื้นที่วิกฤตรุนแรงที่สุด โดยมีขบวนการและวิธีการลักลอบตัดไม้ ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 กระบวนการและวิธีการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย