Page 11 - บทความรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
P. 11
3. รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
สอดคล้องกับข้อเสนอของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ข้อเสนอของสภา
ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 2 พ.ศ. 2 5 6 0 -2 5 6 4 และ
ข้อเสนอของกระทรวงกลาโหม โดยมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้
พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย ได้แก่ 1) การจัดท าแผนการปฏิรูปประเทศในเรื่องและประเด็นปฏิรูป
ทรัพยากรป่าไม้ 2) การพัฒนาองค์กรภาครัฐเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าทั้งระบบ 3)
การพัฒนากฎหมายเพื่อสนับสนุนการหยุดยั้งการท าลายทรัพยากรป่าไม้ 4) การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ 5) การจัด
ระเบียบและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการครอบครองหรือใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ 6) การหยุดยั้งและ
ป้องกันการท าลายทรัพยากรป่าไม้เชิงพื้นที่ 7) การเพิ่มและพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ตามเป้าหมาย 8) การผลักดัน
พื้นที่ป่าไม้ให้เป็นมรดกโลก 9) การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการครอบครองหรือใช้
ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ 10) การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 11) การสนับสนุนและพัฒนา
งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการปฏิรูปทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า 12) การจัดท าแผนการใช้ที่ดิน
ของชาติทั้งระบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศ
ส่วนมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าของรัฐบาล ในช่วงปี
พ.ศ. 2557-2560 1. มาตรการเร่งด่วน คือ การก าหนดนโยบายบริหาร (แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ/
บุคลากร) โดยก าหนดให้การคุ้มครองป้องกันไม้พะยูงเป็นวาระแห่งชาติ การประสานความร่วมมือกับ
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก ากับติดตามและด าเนินคดีทางกฎหมาย โดยการ
ลักลอบตัดและค้าไม้พะยูงเป็นคดีพิเศษ 2. มาตรการระยะยาว การก าหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
ไม้พะยูงของกลางที่ได้มาจากการกระท าความผิดให้ชัดเจน โดยไม่ต้องก่อให้เกิดวงจรของการลักลอบตัดและ
ค้าไม้พะยูงอีกต่อไป รวมทั้งการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงใน
สถานการณ์ปัจจุบัน โดยพิจารณาเพิ่มบทลงโทษผู้กระท าความผิดโดยเฉพาะการลักลอบตัดและค้าไม้พะยูง
อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ระดับประเทศ
(ฝ่ายไทย) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา ซึ่งเป็น
พื้นที่วิกฤตรุนแรงที่สุด รูปแบบการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
ต้องป้องกันการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ป่าให้จงได้ และหากมีการลักลอบตัดแล้วต้องสกัดกั้นมิให้สามารถน าไม้
นั้น เคลื่อนย้ายไปสู่เป้าหมายปลายทาง ทั้งขยายผลขบวนการลักลอบตัดไม้ให้ถึงผู้บงการหรือนายทุน
น าเทคโนโลยีมาใช้ในการป้องกันเฝ้าระวังและติดตามขยายผลน าผู้กระท าผิดมาลงโทษ รวมถึงมีการบูรณาการ
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า
(ศปก.พป.) อยู่ภายใต้การก ากับดูแลของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้
ท าลายป่า โดยผู้อ านวยการส านักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ ท าหน้าที่หัวหน้าศูนย์
ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า (ศปก.พป.) เพื่ออ านวยการการปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการพิเศษ ทั้ง 3 กรม ได้แก่ ชุด
เฉพาะกิจปราบปรามพิเศษ (พยัคฆ์ไพร) กรมป่าไม้ ศูนย์ปฏิบัติพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า
(พญาเสือ) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และชุดปฏิบัติการพิเศษฉลามขาว กรมทรัพยากรทาง
ทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(ศปป.4 กอ.รมน.) ฝ่ายปกครอง ฝ่ายทหาร ฝ่ายต ารวจ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้
กฎหมาย หากเป็นพื้นที่วิกฤตที่มีการลักลอบตัดไม้มีค่าที่รุนแรง จะได้พิจารณาตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า