Page 14 - บทความรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
P. 14
ท่อน/แผ่น/เหลี่ยม รวมปริมาตร 21,992.87 ลูกบาศก์เมตร เมื่อพิจารณารายชนิด พบว่า ไม้พะยูง มีคดีมาก
ที่สุด 6,773 คดี ผู้ต้องหา 2,8 8 3 คน ชนิดไม้มีค่าที่ยึดได้ 1 9 3 ,0 6 1 ท่อน/แผ่น/เหลี่ยม รวมปริมาตร
21,992.87 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อพิจารณาไม้มีค่าที่ยึดได้มากที่สุด คือ ไม้สัก จ านวน 2 3 9 ,0 0 1 ท่อน/แผ่น/
เหลี่ยม รวมปริมาตร 9,412.20 ลูกบาศก์เมตร กลุ่มผู้ลักลอบตัดและขนย้ายไม้พะยูงและไม้มีค่า แบ่งออกเป็น
3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ต้องการไม้พะยูง เป็นกลุ่มชาวจีน ไต้หวัน ฮ่องกง ซึ่งจะมีการสั่งไม้พะยูงผ่านนายทุนชาว
ลาวและเวียดนาม 2) กลุ่มนายทุนคนไทย โดยกลุ่มนายทุนคนไทยจะมาติดต่อกับนายทุนชาวลาวและเวียดนาม
และ 3) กลุ่มชาวกัมพูชา เป็นกลุ่มชาวกัมพูชาที่ได้รับการสนับสนุนจากทหารฝ่ายกัมพูชามีอาวุธสงคราม
ลักลอบเข้ามาตามแนวชายแดน
สภาพการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทยของหน่วยงาน
หลัก 4 หน่วยงานของรัฐ ได้ด าเนินการตามมาตรการเร่งด่วน และมาตรการระยะยาวของรัฐบาลตามแผน
บูรณาการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 4 ยุทธศาสตร์ 1 5 กลยุทธ์ คือ 1. ยุทธศาสตร์ผนึกก าลังป้องกันและ
ปราบปรามการบุกรุกท าลายทรัพยากรป่าไม้ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ 1) หยุดยั้งการบุกรุกท าลาย
ทรัพยากรธรรมชาติ 2) จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ท าลายป่า 3) ส่งเสริมการมีส่วน
ร่วมในการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ท าลายป่า 4) ยึดคืนพื้นที่ป่า ยับยั้งการบุกรุกป่า และแก้ปัญหาป่า
บุกรุกคน โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศเป็นหลักฐานหลักร่วมกับหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. ยุทธศาสตร์การปลุก
จิตส านึกรักผืนป่าของแผ่นดิน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ 1) ก าหนดให้การแก้ไขปัญหาการบุกรุกตัดไม้
ท าลายป่าเป็น “วาระแห่งชาติ” 2) จัดตั้งองค์กรแนวร่วมภาคประชาชนเพื่อปลุกจิตส านึก 3) ปลุกจิตส านึกให้
เจ้าหน้าที่มีความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงาน 3. ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้
ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือ 1) ปรับปรุงระบบการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 2) พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานด้านการ
บริหารจัดการป่าไม้ทั้งระดับจังหวัดและอ าเภอ 3) จัดท าแนวเขตทรัพยากรป่าไม้ทุกประเภทให้เป็นแนวเดียวที่
ชัดเจน 4) จ าแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ (Zoning) 5) ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่
เป็นอุปสรรคในการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และ 4. ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและดูแลรักษาป่าไม้อย่างยั่งยืน
ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ 1) จัดระบบการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมกับ
ประชาชน 2) จัดระบบการปลูกไม้เศรษฐกิจของประเทศเพื่อทดแทนความต้องการและลดการบุกรุกตัดไม้
ท าลายป่า 3) ให้คนอยู่กับป่าพึ่งพากันอย่างมีความสุข
เอกสารอ้างอิง
กรภัทร์ ด ารงไทย. (2555). การบริหารจัดการป่าไม้เพื่อการพัฒนาสู่ประชาคมโลกกรณีศึกษาสถานการณ์ไม้
พะยูง. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล. หลักสูตรนักบริหารการทูต สถาบันการต่างประเทศ
เทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
กรมป่าไม้. (2557). ยุทธศาสตร์กรมป่าไม้ พ.ศ. 2557-2564. กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรและ
สิ่งแวดล้อม
กรมป่าไม้. (2558). คู่มือปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการบุกรุกท าลายทรัพยากรป่าไม้. กรุงเทพฯ:
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมวิชาการเกษตร. (2558). คู่มือการตรวจพิสูจน์เนื้อไม้พะยูง. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยอนุสัญญาไซเตสด้านพืช
ส านักคุ้มครองพันธุ์พืช.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). คู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐในการพิจารณาอนุญาตให้เข้า
ท าประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้. กรุงเทพฯ: ส่วนประสานและกิจการพิเศษ ส านักนโยบายและยุทธศาสตร์