Page 12 - บทความรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย
P. 12

(ศปก.พป.) ส่วนหน้า โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบในระดับพื้นที่ที่ตรงเป้าหมาย เพื่อ
               ควบคุมพื้นที่วิกฤตอย่างใกล้ชิด ตลอดจนก าหนดเป้าหมายที่ชัดเจน วิเคราะห์สถิติ หรือพิสูจน์ทราบ เพื่อให้

               รู้เท่าทันแผนประทุษกรรมของผู้ค้า และต้องลดความต้องการของผู้ซื้อในต่างประเทศลงให้ได้ โดยการ
               ปราบปรามจะต้องด าเนินการให้มีความเด็ดขาดโดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ค้ารายใหญ่ เพื่อท าลายความน่าเชื่อถือของ
               ผู้ค้า เมื่อผู้ซื้อจ่ายเงินแล้วไม่ได้ของ ครั้งต่อไปก็จะไม่ซื้อซ้ าอีก เป็นการตัดวงจรของขบวนการค้าไม้พะยูงข้าม
               ชาติ นายทุนอาศัยความสัมพันธ์ทางการค้าปกติ ที่มีการตรวจสอบตามวงรอบที่ไม่เข้มแข็ง เป็นช่องโหว่ในการ

               ส่งออกไม้มีค่า หนทางที่จะจัดการได้อย่างเด็ดขาด คือก าหนดตัวเป้าหมายที่ชัดเจน วิเคราะห์เส้นทาง รวมถึง
               แหล่งทรัพยากร และด าเนินการสืบสวนจนได้ตัวผู้กระท าความผิดมาลงโทษตามกระบวนการทางกฎหมาย
                       ส าหรับรูปแบบการป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทยของ
               หน่วยงานหลัก 4 หน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย 1) กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               2) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ศูนย์ประสาน
               การปฏิบัติที่ 4 กองอ านวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ 4) กองบังคับการปราบปราม
               เกี่ยวกับการกระท าผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ด าเนินการตาม 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1.
               ยุทธศาสตร์ผนึกก าลังป้องกันและปราบปรามการบุกรุกท าลายทรัพยากรป่าไม้ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ 1)

               หยุดยั้งการบุกรุกท าลายทรัพยากรธรรมชาติ 2) จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ท าลาย
               ป่า 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ท าลายป่า 4) ยึดคืนพื้นที่ป่า ยับยั้งการบุก
               รุกป่า และแก้ปัญหาป่าบุกรุกคน โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศเป็นหลักฐานหลักร่วมกับหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง

               2. ยุทธศาสตร์การปลุกจิตส านึกรักผืนป่าของแผ่นดิน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ 1) ก าหนดให้การแก้ไข
               ปัญหาการบุกรุกตัดไม้ท าลายป่าเป็น “วาระแห่งชาติ” 2) จัดตั้งองค์กรแนวร่วมภาคประชาชนเพื่อปลุก
               จิตส านึก 3) ปลุกจิตส านึกให้เจ้าหน้าที่มีความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงาน 3. ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการ
               พิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ คือ 1) ปรับปรุงระบบการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 2) พิจารณา
               จัดตั้งหน่วยงานด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทั้งระดับจังหวัดและอ าเภอ 3) จัดท าแนวเขตทรัพยากรป่าไม้ทุก

               ประเภทให้เป็นแนวเดียวที่ชัดเจน 4) จ าแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ (Zoning) 5)
               ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และ 4. ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและดูแล
               รักษาป่าไม้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ 1) จัดระบบการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนโดย

               การมีส่วนร่วมกับประชาชน 2) จัดระบบการปลูกไม้เศรษฐกิจของประเทศเพื่อทดแทนความต้องการและลด
               การบุกรุกตัดไม้ท าลายป่า 3) ให้คนอยู่กับป่าพึ่งพากันอย่างมีความสุข
                       ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้พะยูงและไม้มีค่าในประเทศไทย โดย
               อาศัยแผนแม่บทพิทักษ์ทรัพยาการป่าไม้ของชาติ และค าสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทั้ง 3 ฉบับ

               เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง  4 หน่วยงาน ดังภาพที่ 3
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16