Page 11 - Q15-COJ
P. 11

3.1 ศาลชั้นต้น

               ศาลชั้นต้น เป็นศาลซึ่งรับคำาฟ้องหรือรับคำาร้องในชั้นเริ่มต้นคดี โดยผู้ที่มีคดีความและประสงค์

        จะใช้สิทธิฟ้องร้องต้องยื่นฟ้องที่ศาลนี้เป็นลำาดับแรก โดยคดีที่ศาลชั้นต้นรับพิจารณาสามารถจำาแนกออก
        เป็นเรื่องต่าง ๆ ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีผู้บริโภค คดีสิ่งแวดล้อม คดีนักท่องเที่ยว คดีแรงงาน คดีภาษีอากร
        คดีล้มละลาย คดีเยาวชนและครอบครัว หรือคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ โดยดำาเนิน

        กระบวนการตัดสินชี้ขาดเป็นชั้นศาลแรก ทั้งมีอำานาจดำาเนินกระบวนการพิจารณาแทนศาลชั้นอุทธรณ์ และ

        ศาลฎีกาในบางเรื่องด้วย โดยศาลชั้นต้นสามารถจำาแนกได้ดังนี้


               1. ศาลชั้นต้น ที่พิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาในกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม

        ศาลแพ่ง ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งตลิ่งชัน

        กลุ่มศาลอาญา ได้แก่ ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลอาญามีนบุรี ศาลอาญาพระโขนง
        ศาลอาญาตลิ่งชัน



               2. ศาลจังหวัด เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งประจำาในแต่ละจังหวัดหรือในบางอำาเภอ มีเขตอำานาจศาล

        ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนั้นได้กำาหนดไว้ มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญา
        ทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำานาจของศาลยุติธรรมอื่น องค์คณะประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน และ
        ต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำาศาลเกิน 1 คน หากในจังหวัดนั้นไม่มีศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดมีอำานาจพิจารณา

        คดีที่อยู่ในอำานาจศาลแขวงโดยองค์คณะประกอบด้วยผู้พิพากษาคนเดียว



               3. ศาลแขวง เป็นศาลชั้นต้นที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เป็นความผิด
        เล็กน้อย  และคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ทีี่พิพาทไม่สูง  เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีมีความรวดเร็วและ

        คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชน โดยในส่วนของคดีแพ่งนั้น กำาหนดให้มีอำานาจหน้าที่ในการพิจารณาคดี

        ซึ่งมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท หากเป็นคดีอาญาสามารถพิจารณาคดี
        ที่มีบทลงโทษจำาคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ แต่ทั้งนี้จะลงโทษจำาคุก
        เกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำาทั้งปรับซึ่งโทษจำาคุกหรือปรับนั้นอย่างหนึ่งอย่างใด

        หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วโดยผู้พิพากษาคนเดียวไม่ได้ หากเห็นว่าสมควรลงโทษจำาเลยเกิน

        อัตราดังกล่าว ถือเป็นเหตุจำาเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ต้องให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงนั้น หรือผู้ทำาการ
        แทนตรวจสำานวน และลงลายมือชื่อในคำาพิพากษาเป็นองค์คณะในการพิพากษาคดีด้วย







                                                                                                 10
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16