Page 68 - tt
P. 68

-๖๔-



                                                  ยุทธศาสตร์ชาติ


                      ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ




               ๑.  บทนํา

                       ภาครัฐเป็นกลไกหนึ่งที่สําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวทาง นโยบาย และทิศทาง

               การพัฒนาตามที่กําหนดตามกรอบการบริหารราชการแผ่นดิน และการที่ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย
               อนาคตในระยะยาวที่กําหนดไว้นั้น ระบบบริหารจัดการภาครัฐจะต้องสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

               การพัฒนาอย่างมีบูรณาการ มีความต่อเนื่อง เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา
               การบริหารจัดการภาครัฐขาดประสิทธิภาพ มีปัญหาเชิงการบริหารจัดการและโครงสร้าง ปัญหาคอร์รัปชัน

               และระบบอุปถัมภ์ ดังนั้น จึงจําเป็นต้องกําหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบ
               การบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา

               ประเทศในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่เน้นการตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่าง
               สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ผ่านการมีหน่วยงานภาครัฐที่มีโครงสร้างและภารกิจที่เหมาะสม และวัฒนธรรม

               การทํางานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ของส่วนรวม เปิดโอกาสให้ทุก ๆ ภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
               ในการดําเนินการบริการสาธารณะ ตรวจสอบการดําเนินการของหน่วยงานภาครัฐและภาคส่วนอื่น ๆ

               ตลอดจนดําเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสังคมได้อย่างเหมาะสม

                       ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐจึงมีประเด็น
               ยุทธศาสตร์ที่เน้นการปรับเปลี่ยนภาครัฐ ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์

               ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ และแยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐ
               ที่ทําหน้าที่ในการกํากับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน มีขีดสมรรถนะสูง ยึดหลัก

               ธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทํางานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย
               และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนํา

               นวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบการทํางานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า
               และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้

               ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
               และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์

               และสร้างจิตสํานึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น กฎหมาย
               ต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จําเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนําไปสู่การ

               ลดความเหลื่อมล้ําและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็น
               ธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ การอํานวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม รวมทั้งต้องมีการพัฒนาระบบ

               บริหารจัดการบุคลากรภาครัฐที่สามารถจูงใจและดึงดูดให้คนดีคนเก่งเข้ามาร่วมพลังการทํางานที่มีความ
               มุ่งมั่นและมีแรงบันดาลใจในการที่จะร่วมกันพลิกโฉมประเทศไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73