Page 23 - โครงการ_Neat
P. 23

- 20 -








                        4. หนี้ที่เกิดจากมูลละเมิดเกิดเมื่อมีการทําละเมิด และให้ลูกหนี้ผิดนัดตั้งแต่

                 เวลาทําละเมิด


                        คําพิพากษาฎีกาที่ 552/2539 หนี้อันเกิดต่อมูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัด


                 มาแต่เวลาที่ทําละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ดังนั้น จําเลยที่ 1 จําเลยที่ 2 จึง


                 ต้องรับผิดชําระดอกเบี้ยนับแต่วันทําละเมิดแม้ค่าเสียหายบางส่วนเป็น


                 ค่าเสียหายในอนาคตก็ตาม


                        เมื่อลูกหนี้ผิดนัดการชําระหนี้ ก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย คือเจ้าหนี้มีสิทธิ


                 เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายได้ ตลอดจนลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ


                 ในความเสียหายที่เกิดขึ้น และหากเป็นหนี้ที่ต้องชําระเงินกฎหมายกําหนดให้


                 ลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 ต่อปีอีกด้วย


                        ควำมระงับแห่งหนี้


                        ความระงับแห่งหนี้ หมายถึง ความหมดไปแห่งหนี้ โดยหนี้จะหมดไปด้วย


                 เหตุ 5 ประการ คือ


                        1. การชําระหนี้ แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีอํานาจรับชําระหนี้


                        2. การปลดหนี้ คือ การที่เจ้าหนี้ยอมยกหนี้ให้ลูกหนี้ไม่ต้องชําระหนี้ต่อไป

                        3. การหักกลบลบหนี้ คือ การหักกลบลบหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นลักษณะ


                 เดียวกัน เช่น นายแดงเป็นหนี้กู้นายดํา 700,000 บาท ต่อมานายดําซื้อสินค้าของ


                 นายแดงมูลค่า 200,000 บาท ก็สามารถนําเงิน 200,000 บาทมาหักกลบลบหนี้


                 700,000 บาท คงเหลือหนี้ที่นายแดงต้องชําระหนี้แก่นายดํา 500,000 บาท


                        4. การแปลงหนี้ใหม่ โดยคู่กรณีเปลี่ยนแปลงสาระสําคัญของหนี้ ทําให้หนี้


                 เดิมระงับแล้วให้เป็นไปตามหนี้ใหม่ เช่น นายแดงตกลงให้นายดําต่อเติม


                 ห้องครัว หลังจากต่อเติมได้ชวงหนึ่งนายแดงต้องการให้นายเขียวมาต่อเติมแทน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28