Page 18 - โครงการ_Neat
P. 18
- 15 -
ร่วมกัน และหากบุคคลหลายคนร่วมกันเป็นเจ้าหนี้เรียกว่า “เจ้าหนี้ร่วม” หาก
บุคคลหลายคนเป็นหนี้ก็เรียกว่า “ลูกหนี้ร่วม”
บ่อเกิดแห่งหนี้
หนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีบ่อเกิดแห่งหนี้ หมายถึง ที่มาอันทําให้บุคคลมีหนี้
ที่ต้องกระทําต่อกัน ดังนั้นถ้าไม่มีบ่อเกิดแห่งหนี้ ก็ไม่มีหนี้ เมื่อไม่มีหนี้ก็ไม่มี
เจ้าหนี้และลูกหนี้อันจะมาบังคับอะไรกันได้โดยบ่อเกิดแห่งหนี้มีด้วยกัน 2
ลักษณะ คือ
1.นิติกรรม คือ การที่บุคคลกระทําลงด้วยใจสมัครและโดยชอบด้วย
กฎหมาย เพื่อก่อความสัมพันธ์ทางกฎหมายขึ้น ซึ่งอาจเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว
เช่น ให้คํามั่น หรืออาจเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย เช่น ตกลงทําสัญญากัน ดังนั้น
บ่อเกิดแห่งหนี้ในลักษณะนี้ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่บุคคลสมัครใจให้เกิดหนี้
ขึ้น
2.นิติเหตุ คือ เหตุที่ทําให้บุคคลมีหนี้ที่กฎหมายกําหนดขึ้น โดยบุคคล
อาจจะไม่สมัครใจอันได้แก่
• ละเมิด หมายถึงการที่บุคคลหนึ่งกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เขาเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย
อนามัย ทรัพย์สิน เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ละเมิดจะต้อง
รับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อผู้เสียหายคือเป็นลูกหนี้ของผู้ถูก
ละเมิดนั่นเอง เช่น เขียวขับรถชนขาวขาหัก เขียวจึงมีหน้าที่ต้องชดใช้
ค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทน เขียวจึงเป็นลูกหนี้ขาวและขาวก็เป็นเจ้าหนี้
เขียว