Page 17 - test
P. 17
14
ใบควำมรู้ที่ 1
เรื่อง นิทำน
ควำมหมำยของนิทำน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546, หน้า 588) อธิบายความหมาย
นิทาน ไว้ว่า เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก และนิทานอีสป เป็นต้น
องค์ประกอบของนิทำน
1. แนวคิดของเรื่อง เป็นองค์ประกอบเบื้องต้นในการเขียนนิทาน ที่สะท้อนได้อย่างชัดเจน
นิทานเรื่องหนึ่งๆ จะมีเพียงแนวคิดเดียว เช่น ความซื่อสัตย์ ความขยันหมั่นเพียร ความสามัคคี เป็น
ต้น
2. โครงเรื่องของนิทาน มักจะสั้น กะทัดรัด เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นลักษณะเรื่องเล่า
ธรรมดา
โดยด าเนินเรื่องไปตามล าดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
3. ตัวละคร ไม่ควรมีหลายตัว เพราะเป็นเรื่องสั้นๆ ตัวละครอาจเป็นคน สัตว์ เทพเจ้า นางฟ้า
มนุษย์ อมนุษย์ เป็นต้น
4. ถ้อยค าหรือบทสนทนาที่ตัวละครในเรื่องพูดกัน ควรใช้ภาษาที่กะทัดรัด เข้าใจง่าย
สนุกสนาน ชวนติดตาม
4. ฉาก เป็นภาพจินตนาการที่ผู้เขียนสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
6. ข้อคิด นิทานที่ดีต้องมีข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเป็นการปลูกฝัง
คุณธรรม ดังนั้นในตอนท้ายของนิทานมักสรุปข้อคิดให้เป็นเครื่องเตือนใจผู้อ่าน
ลักษณะนิทำนที่ดี
1. ควรเป็นนิทานสั้นๆ ไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ
2. การตั้งชื่อเรื่อง ต้องน่าสนใจ น่าติดตาม
โดยพิจารณาจากเนื้อหาของนิทาน
3. มีแนวคิดของเรื่องอย่างชัดเจน
และควรมีแนวคิดเดียว
4. เนื้อหาควรส่งเสริมให้ผู้อ่านมีลักษณะ
นิสัยที่ดีงาม เช่น สุภาพ ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ประหยัด
กล้าหาญ เสียสละ และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น