Page 75 - เอกสารฝนหลวง
P. 75
ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง
เรื่องราวการทําฝน (THE RAINMAKING STORY)
จากวันที่ 2 ถึง 20 พฤศจิกายน 1955 (๒๔๙๘) เราได้เยี่ยม 15 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน เราเดินทางโดยรถยนต์ (เดลาเฮย์ ซีดาน สีเขียว) จากนครพนมไปกาฬสินธุ์
ผ่านสกลนคร และเทือกเขาภูพาน เราหยุดโดยไม่มีหมายกําหนดการ เมื่อเราพบราษฎร กลุ่มเล็กๆ
ชายคนหนึ่งพูดว่า พวกเขาได้เดินมา 20 กิโลเมตร จากกุฉินารายน์ เพียงเพื่อมาดูเราขับรถผ่านไป
เมื่อรู้ว่าเรากําลังจะไปกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นระยะทางอีกไกลที่จะต้องไป เขาได้บอกให้เราเดินทางต่อไป
แม้ว่าเขาอยากจะให้เราพักอยู่ เขากล่าวว่าพวกเรายังต้องไปอีกไกล ดังนั้น เขาจึงได้ให้อาหารห่อเล็กๆ
แก่ข้าพเจ้า เมื่อเขาเห็นข้าพเจ้ามองอย่างห่วงใย เขาจึงยืนยันกับข้าพเจ้าว่าเขายังมีอีกห่อหนึ่งสําหรับ
ตัวเขาเอง นี่เป็นการต้อนรับด้วยความจริงใจที่แท้จริง ! ครั้งต่อไป เราได้หยุดอย่างเป็นทางการที่ทางแยก
กุฉินารายน์และสหัสขันธ์ ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้สอบถามราษฎรเกี่ยวกับผลิตผลข้าว ข้าพเจ้าคิดว่า
ความแห้งแล้งต้องทําลายผลิตผลของพวกเขา แต่ข้าพเจ้าต้องประหลาดใจ เมื่อราษฎรเหล่านั้น
กลับรายงานว่า พวกเขาเดือดร้อนเพราะนํ้าท่วม สําหรับข้าพเจ้าเป็นการแปลก เพราะพื้นที่แถบนั้น
มองดูคล้ายทะเลทราย ซึ่งมีฝุ่นดินฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไป แท้จริงแล้ว พวกเขามีทั้งนํ้าท่วมและฝนแล้ง
นั่นคือ ทําไมประชาชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงยากจนนัก
จากนั้นเป็นต้นมา ข้าพเจ้าครุ่นคิดถึงปัญหาที่ดูเหมือนว่าแก้ไม่ตก และขัดแย้งกันเองอยู่ในตัว :
เมื่อเวลามีนํ้า นํ้าก็มากเกินไป ทําให้นํ้าท่วมพื้นที่ เมื่อนํ้าลด ก็แห้งแล้ง เมื่อฝนตกนํ้าท่วมบ่าลงมา
จากภูเขา เพราะไม่มีสิ่งใดหยุดนํ้าเอาไว้ วิธีแก้คือต้องสร้างเขื่อนเล็กๆ (Check dams) จํานวนมาก
ตามลําธารที่ไหลลงมาจากภูเขาต่างๆ จะช่วยให้กระแสนํ้าค่อยๆ ไหลอย่างสมํ่าเสมอถ้าเป็นไปได้
ควรสร้างเขื่อนและอ่างเก็บนํ้าเล็กๆ จํานวนมาก สิ่งนี้จะแก้ไขปัญหาแห้งแล้งได้ ในฤดูฝนนํ้าที่ถูกเก็บไว้ใน
อ่างเก็บนํ้าเหล่านั้น และนํามาจัดสรรนํ้าให้ในฤดูแล้ง ยังคงมีอีกปัญหาหนึ่งคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งภาคมีชื่อเสียงว่าเป็นภาคที่แห้งแล้ง ขณะนั้นข้าพเจ้าได้แหงนดูท้องฟ้าและเห็นว่ามีเมฆจํานวนมาก
แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขจึงอยู่ที่ว่าจะทําอย่างไรจึงจะทําให้เมฆเหล่านั้น
ตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการทําฝนเทียม ซึ่งประสบความสําเร็จ
ในอีก 2 – 3 ปี ต่อมาในภายหลัง
เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร ข้าพเจ้าได้เรียก หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งเป็นวิศวกร
และนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงมาพบ เขาให้สัญญากับข้าพเจ้าว่าเขาจะศึกษาปัญหาดังกล่าว
สองปีต่อมา เขากลับมาพร้อมความคิดเริ่มแรก
หลักการแรก คือ ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับ
ความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด (นํ้าแข็งแห้ง) เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัวและรวมตัวเป็นเมฆ
การทดลองครั้งแรกๆ ยังไม่สามารถสรุปผลได้มากนัก ไม่มีฝนตก : แต่เมฆก่อตัวในท้องฟ้าโปร่ง
24