Page 76 - เอกสารฝนหลวง
P. 76

ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ                                                                            เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง


                       แต่นํ้าแข็งแห้ง ที่ใช้ไม่เพียงพอ เมฆจึงสลายตัวกลับคืนสู่ท้องฟ้าใส  เมื่อเพิ่มปริมาณนํ้าแข็งแห้งมากขึ้น

                       เมฆ “ระเบิด” และถูกทําลาย แม้จะเพิ่มนํ้าทะเลก็ช่วยไม่ได้  จึงต้องกลับมา “วางแผนกันใหม่”

                              หลักการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง : ฝนเกิดขึ้นจากความชื้น  และอุณหภูมิ   ปัจจัยอื่นคือ  ความเร็ว

                       และทิศทางลม  ต้องศึกษาคุณสมบัติฟิสิกส์ของเมฆ (Cloud Physics)  มากขึ้น  แต่หลักการและองค์ประกอบ

                       พื้นฐานยังอยู่ตรงนั้น  เกลือทะเลเป็นสูตรแรก  นํ้าทะเลเป็นสูตรที่สอง  นํ้าแข็งแห้งเป็นสูตรที่สาม

                              สูตร 1 และสูตร 3 ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน สูตร 2 ไม่ใช้ต่อไป  สูตรอื่นๆ ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น
                       คือ สูตร 4 : ยูเรีย (สูตรเย็นปานกลาง)  สูตร 6 : แคลเซี่ยมคลอไรด์ (ร้อน)  สูตร 9 : แคลเซียมคาร์ไบด์

                       (ร้อนมาก)  สูตรหลังนี้ขณะนี้เลิกใช้แล้ว  เพราะค่อนข้างอันตราย

                              แคลเซียมคลอไรด์ถูกใช้ครั้งแรก  ใกล้กับบรบือ มหาสารคาม  ที่นั่นข้าพเจ้าคาดว่า  หลังจาก

                       การก่อเมฆด้วยสูตร 1 (เกลือทะเล)  ถ้าสูตร 6 (แคลเซียมคลอไรด์)  ถูกใส่เข้าไปในเมฆ  เมฆนั้นจะก่อยอด

                       ถึงระดับที่สูงขึ้น  คล้ายรูปดอกเห็ดของระเบิดปรมาณู  ผลที่ได้คือ ฝนตกวัดได้ 40 มม.  แม้ว่าเมฆ
                       ไม่ได้ก่อยอดสูงขึ้นในรูปดอกเห็ด  แต่ก่อยอดสูงขึ้นคล้ายต้นคริสต์มาส


                              กิจกรรมอื่นๆ ที่ใช้เทคนิคการทําฝน เช่น การทําลายเมฆสําหรับสนามบิน ซึ่งกลายมาเป็น
                       การศึกษาถึงประโยชน์ของการใช้แคลเซียมคลอไรด์และนํ้าแข็งแห้ง  ครั้งแรกที่ถูกใช้  เมื่อข้าพเจ้าเดินทาง
                       ด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไปอําเภอบ้านโป่งเพื่อพิธีการทางศาสนา  ในการเดินทางกลับ เมฆหนาทึบจํานวนมาก

                       มีท่าทีว่าจะคุกคามและขัดขวางการบินของเรา   ม.ร.ว. เทพฤทธิ์  จึงบินด้วยเครื่องบินปีก  นําหน้า

                       เส้นทางบินของเรา  โปรยแคลเซียมคลอไรด์ตลอดทางจนถึงพระตําหนักจิตรลดา  พระราชวังดุสิต
                       ผลก็คือ เมฆเหล่านั้นแยกออกเป็นเส้นทางโล่ง  ทั้งสองด้านของเมฆแยกออกมองดูคล้ายกําแพงยักษ์

                       สองข้าง   เมื่อเรามาถึงตําหนักจิตรลดา  กําแพงทั้งสองเริ่มปิดเข้าหากันและ มีกระแสลมแรง  ทําให้
                       เฮลิคอปเตอร์เกือบบินกลับฐานที่ตั้งไม่ได้  และไม่ช้าก็เกิดฝนตกหนักมาก ดังนั้น  แม้ว่าประสบการณ์

                       ดังกล่าวจะประสบความสําเร็จในการทําลายเมฆ แต่ขณะเดียวกัน เป็นความสําเร็จ ในการปฏิบัติการ
                       ทําฝนด้วย








                                                         รศ.ดร.สุกัญญา  เจษฎานนท์  และ
                                                         นายเมธา  รัชตะปีติ  ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง

                                                         ผู้แปล





                                                              25
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81