Page 88 - เอกสารฝนหลวง
P. 88
ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง
ทูลเกล้าฯ ถวายอาหารห่อเล็กๆ เมื่อเขาเห็นว่าทรงมองด้วยความห่วงใย เขาจึงยืนยันว่าเขายังมีอีกห่อ
หนึ่งสําหรับตัวเขาเอง ทรงบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ว่า นี่คือการต้อนรับที่แท้จริง ถึงแม้จะเป็นเหตุการณ์
เล็กๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความจงรักภักดีและความเข้าใจ แม้มิได้ทรงถ่ายทอด
ออกมาเป็นคําพูดเพียงสายพระเนตรที่ทอดออกมาพวกเขาต่างรับรู้ได้ด้วยจิตสํานึกและเข้าใจในพระ
เมตตา ความห่วงใยของพระองค์ท่าน จึงได้กราบบังคมทูลว่าเขามีอาหารสําหรับตัวเองหนึ่งห่อ
ขอให้ทรงรับห่อที่เขาทูลเกล้าฯ ถวาย จึงอาจกล่าวได้ว่าไม่มีสิ่งหรืออํานาจใดมาขวางกั้นสายสัมพันธ์
ระหว่างพสกนิกรผู้ยากไร้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พวกเขาเคารพรักและบูชาได้
เมื่อทรงหยุดอย่างเป็นทางการที่ทางแยกอําเภอกุฉินารายณ์และสหัสขันธ์ ณ ที่นั้นทรงสอบถาม
ราษฎรเกี่ยวกับผลผลิตข้าว ทรงคิดว่าต้องเสียหายเพราะความแห้งแล้ง แต่ต้องทรงประหลาดใจ
ที่ราษฎรเหล่านั้นกราบบังคมทูลว่า เดือดร้อนเสียหายจากนํ้าท่วม ทรงเห็นว่าเป็นการแปลก เพราะ
พื้นที่โดยรอบดูคล้ายทะเลทรายที่มีฝุ่นฟุ้งกระจายทั่วไป แท้ที่จริงแล้วราษฎรเหล่านั้นมีทั้งนํ้าท่วม
และฝนแล้ง นั่นคือ ทําไมประชาชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงยากจนนัก
ณ ขณะนั้นทรงคิดว่าเป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่าจะแก้ไขไม่ได้ และขัดแย้งกันเองในตัว เมื่อ
มีนํ้ามากไปก็ท่วมพื้นที่ เมื่อนํ้าหยุดท่วมฝนก็แล้ง เมื่อฝนตกนํ้าจะไหลบ่าลงมาท่วมจากภูเขาเพราะไม่มี
สิ่งใดหยุดยั้งการไหลบ่า ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระสติปัญญาอันเป็นเลิศ ทําให้ทรงเกิดประกายความคิด
อย่างฉับพลัน ณ วินาทีนั้นในขณะนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากและ
ขัดแย้งกันดังกล่าว
วิธีแก้คือ ต้องสร้างฝายนํ้าล้น (check dams) ขนาดเล็กจํานวนมาก ตามลําธารที่ไหลลงมา
จากภูเขาจะช่วยชะลอการไหลลงมาอย่างสมํ่าเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรสร้างเขื่อนและอ่างเก็บนํ้าขนาดเล็กๆ
จํานวนมาก วิธีนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาแห้งแล้งได้ทางหนึ่ง ในฤดูฝนนํ้าที่ถูกเก็บกักไว้ในฝาย เขื่อน
และอ่างเก็บนํ้าดังกล่าวใช้จัดสรรนํ้าสําหรับฤดูแล้ง
ปัญหาหนึ่งที่ยังคงดํารงอยู่คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคมีชื่อเสียงว่าเป็นภาคที่แห้งแล้ง
ขณะนั้นทรงแหงนขึ้นดูท้องฟ้าและพบว่ามีเมฆจํานวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นถูกพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป
วิธีแก้ อยู่ที่ว่าจะทําอย่างไรที่จะทําให้เมฆเหล่านั้นรวมตัวตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น และทรงบันทึก
ไว้ว่า ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฝนเทียม (ปัจจุบันเรียกอย่างเป็นทางราชการตามมติ
คณะรัฐมนตรีว่า โครงการฝนหลวงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517) ซึ่งประสบความสําเร็จไม่นานในภายหลัง
นับเป็นพระอัจฉริยภาพที่ทรงเกิดประกายความคิดที่จะแก้ไขปัญหาอันยุ่งยาก และขัดแย้ง
ได้อย่างฉับพลัน ณ ขณะนั้นด้วยพระปัญญาอันชาญฉลาดและเป็นเลิศที่ทรงสามารถคิดค้นวิธีแก้ปัญหา
ทั้งนํ้าท่วมและฝนแล้งได้ในขณะเดียวกัน ที่เป็นวิธีการและหลักการในการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า
ทั้งจากฟ้าและบนดินได้อย่างครบถ้วน ยังคงทันสมัยที่นํามาเป็นหลักการหรือต้นแบบในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรนํ้าบนผิวพื้นโลกได้ทุกยุคสมัย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
36