Page 93 - เอกสารฝนหลวง
P. 93
ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง
ที่ได้มาจากประเทศในแถบถิ่นที่มีภูมิอากาศอยู่ในเขตหนาว รวมทั้งทรงวิเคราะห์ข้อมูลและข้อสังเกต
ที่ทรงบันทึกไว้ในระหว่างการเสด็จเยือนแต่ละท้องถิ่นของแต่ละภาคของประเทศ เช่น สภาพภูมิประเทศ
ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม ฤดูกาล ซึ่งทรงเห็นว่ามีอิทธิพลต่อการเกิดสภาวะแห้งแล้งและต่อความพยายาม
ในการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนได้อย่างสัมฤทธิ์ผล รวมทั้งสภาพปัญหาความทุกข์ยาก ความเดือดร้อน
เสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรอันเนื่องจากภัยแล้ง จนทรงสามารถตั้งเป็นข้อสมมติฐาน
ที่ทรงคาดหมายหวังผลไว้อย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน พร้อมที่จะเริ่มต้นให้มีการค้นคว้าทดลอง และ
ทรงมั่นพระทัยว่าจะสัมฤทธิ์ผลในการค้นคว้าทดลองและการประดิษฐ์คิดค้นตามที่ทรงคาดหวังไว้
ในข้อสมมติฐาน
พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ฯพณฯ องคมนตรี มล. เดช สนิทวงศ์ อัญเชิญเอกสาร
ที่ทรงศึกษาทบทวนแล้วดังกล่าวข้างต้น มาพระราชทานแด่ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้ศึกษาทบทวน
และทําความเข้าใจกับเอกสารพระราชทานเหล่านั้นควบคู่กันไปด้วย ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง
ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ถึงกับไปสมัครฝึกบินกับศูนย์ฝึกบินพลเรือนจนจบหลักสูตรเป็นนักบิน
หลายปีต่อมา ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้กลับมากราบบังคมทูลพร้อมกับความคิดเริ่มแรกและ
ความเป็นไปได้ที่จะเริ่มต้นการค้นคว้าทดลอง การประดิษฐ์คิดค้น และการปฏิบัติการค้นคว้าทดลองจริง
ในท้องฟ้า โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมี ดร.แสวง กุลทองคํา ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และ ม.จ.จักรพันธุ์ เพ็ญศิริจักรพันธ์ อธิบดีกรมการข้าวในขณะนั้นรับใส่เกล้าฯ สนองพระราชประสงค์
การปฏิบัติการทดลองจริงในท้องฟ้าจึงเริ่มต้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512
ณ สนามบินหนองตะกู วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อําเภอปากช่องเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ในพระราชบันทึก The Rainmaking Story พระราชทาน แม้จะทรงบันทึกเหตุการณ์สําคัญ
ไว้อย่างย่นย่อ แต่เป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าทรงเป็นพระผู้บุกเบิก ในการค้นคว้าทดลอง การประดิษฐ์คิดค้น
และการปฏิบัติการค้นคว้าทดลองจริงในท้องฟ้า การพัฒนาขั้นตอนกรรมวิธีด้วยกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และสัมฤทธิ์ผลตามข้อสมมติฐานที่ทรงกําหนดและคาดหวังผลเอาไว้
ทรงมั่นพระทัยว่าหลักการเหล่านั้นเป็นสิ่งถูกต้องว่า ฝนเกิดขึ้นจากความชื้น และอุณหภูมิ และปัจจัยอื่น
คือ ความเร็ว และทิศทางลม เมฆฟิสิกส์ (Cloud Physics) แม้จะต้องมีการศึกษามากขึ้นแต่หลักการ
ยังคงเดิม ทรงแสดงให้เห็นว่า การค้นคว้าทดลอง การประดิษฐ์คิดค้น การพัฒนาสารฝนหลวง และ
การพัฒนาเทคโนโลยี ต้องกระทําควบคู่ไปกับการปฏิบัติการหวังผล
โดยทรงบัญชาการและพระราชทานแผนการดําเนินการ รวมทั้งข้อแนะนําทางเทคนิค จากศูนย์
อํานวยการที่ทรงตั้งขึ้นในพระตําหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต โดยมี ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล
เป็นผู้สนองพระราชประสงค์ และอํานวยการปฏิบัติการค้นคว้าทดลองในภาคสนามมาแต่เริ่มแรก
และเมื่อทรงมีพระบรมราชวโรกาสมักจะเสด็จพระราชดําเนินมาทรงร่วมในการปฏิบัติการทดลอง
40