Page 94 - เอกสารฝนหลวง
P. 94
ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง
ในภาคสนาม ทรงติดตามและสังเกตการณ์ผลสัมฤทธิ์ตามข้อสมมติฐานที่ทรงกําหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ
ค้นคว้าทดลองด้วยพระองค์เอง
ดังจะเห็นได้จากที่ทรงบันทึกถึงการทดลองใช้แคลเซียมคลอไรด์ใกล้กับอําเภอบรบือ จังหวัด
มหาสารคามหลังจากการก่อเมฆด้วยผงเกลือทะเล เมื่อสารแคลเซี่ยมคลอไรด์ถูกใส่เข้าไปในเมฆ เมฆ
นั้นจะก่อยอดถึงระดับที่สูงขึ้นคล้ายรูปดอกเห็ดของระเบิดปรมาณู ผลคือฝนตกวัดได้ 40 มม. แม้ว่า
เมฆไม่ได้ก่อยอดสูงขึ้นคล้ายต้นดอกเห็ดแต่คล้ายต้นคริสต์มาส เป็นต้น
พระราชบันทึกดังกล่าว ยังเป็นเครื่องยืนยันว่าในช่วงเริ่มต้นบุกเบิกในระยะเริ่มแรกของโครงการ
ทรงมีบทบาทสําคัญในการกําหนดข้อสมมติฐานที่คาดหวังผลที่แน่นอนและชัดเจนในการวางแผนปฏิบัติการ
ค้นคว้าทดลอง การเริ่มต้นการค้นคว้าทดลอง การประดิษฐ์คิดค้น การพัฒนาเทคโนโลยี การประยุกต์
เทคโนโลยี การพัฒนาเทคนิคเพื่อให้การประยุกต์เทคโนโลยีสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น และการประยุกต์เทคโนโลยี
ในกิจกรรมการดัดแปรสภาพอากาศอื่นๆ โดยทรงบัญชาการและพระราชทานแผนการดําเนินการ
ทั้งในท้องฟ้า และภาคพื้นดินประจําวันจากศูนย์อํานวยการที่ทรงตั้งขึ้นในพระตําหนักจิตรลดา
พระราชวังดุสิต โดยทรงเป็นองค์อํานวยการศูนย์ และโปรดเกล้าฯ ให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
เป็นผู้บัญชาการปฏิบัติการในภาคสนามสนองพระประสงค์ และเมื่อทรงมีบรมราชวโรกาสมักจะเสด็จ
มาทรงร่วมในการวางแผนปฏิบัติการค้นคว้าทดลอง และสังเกตการณ์ผลสัมฤทธิ์ตามข้อสมมติฐานหวังผล
ที่ทรงคาดหวังไว้ด้วยพระองค์เอง ดังเช่นกรณีที่ทรงบันทึกไว้ว่า กิจกรรมอื่นที่ใช้เทคนิคการทําฝน
เช่น การทําลายเมฆสําหรับสนามบิน ซึ่งกลายมาเป็นการศึกษาถึงประโยชน์ของการใช้ แคลเซี่ยมคลอไรด์
และนํ้าแข็งแห้ง ครั้งแรกที่ถูกใช้เมื่อเสด็จพระราชดําเนินด้วยเฮลิคอปเตอร์ไปอําเภอบ้านโป่ ง เพื่อ
พิธีการทางศาสนา ในการเสด็จพระราชดําเนินกลับ เมฆจํานวนมากมีท่าที่ว่าจะขัดขวางการบิน
ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงบินนําด้วยเครื่องบินปีก ตามเส้นทางบินเสด็จพระราชดําเนินกลับ และ
โปรยแคลเซียมคลอไรด์ตลอดทางจนถึงพระตําหนักจิตรลดา พระราชวังดุสิต ผลก็คือ เมฆเหล่านั้น
แยกออกเป็ นทางโล่งทั้งสองด้านของเมฆที่แยกออกมองดูคล้ายกําแพงยักษ์สองข้าง เมื่อเสด็จ
พระราชดําเนินถึง พระตําหนักจิตรลดา กําแพงทั้งสองเริ่มปิดเข้าหากันและมีกระแสลมแรง ทําให้
เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งเกือบบินกลับฐานที่ตั้งไม่ได้ และไม่ช้าก็เกิดฝนตกหนักมาก ดังนั้น แม้ว่า
ประสบการณ์ดังกล่าวจะประสบความสําเร็จในการทําลายเมฆแต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นความสําเร็จ
ในการทําฝนด้วย
พระราชบันทึก The Rainmaking Story เป็นสิ่งยืนยันอย่างแน่ชัดว่า ฝนหลวงก่อกําเนิด
จากพระราชประสงค์โดยแท้ แตกต่างจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริอื่นๆ เพราะมิเพียงแต่
ทรงเกิดประกายความคิดซึ่งเป็นที่มาของจุดเริ่มต้นโครงการฝนหลวงขึ้นมาเท่านั้น ยังทรงขยายผลและ
ทรงลงมือด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่การกําหนดข้อสมมติฐานหวังผล การค้นคว้าทดลอง การประดิษฐ์คิดค้น
และทรงบัญชาการและวางแผนปฏิบัติการค้นคว้าทดลองในท้องฟ้าอย่างต่อเนื่องจนทรงสามารถสรุป
41