Page 42 - สังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย
P. 42
๓๓
¤ÇÒÁสํา¤Ñޢͧ¡®ºÑμÃÍÒà«Õ¹μ‹Í»ÃÐà·Èä·Â
กฎบัตรอาเซียนใหความสําคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณีตางๆ ของประเทศสมาชิก
ซึ่งจะชวยสรางเสริมหลักประกันใหกับไทยวา จะสามารถไดรับผลประโยชนตามที่ตกลงกันไวอยาง
เต็มเม็ดเต็มหนวย นอกจากนี้ การปรับปรุงการดําเนินงานและโครงสรางองคกรของอาเซียน
ใหมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการเสริมสรางความรวมมือในทั้ง ๓ เสาหลักของประชาคมอาเซียน
จะเปนฐานสําคัญที่จะทําใหอาเซียนสามารถตอบสนองตอความตองการและผลประโยชน
ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอํานาจตอรอง และภาพลักษณของประเทศสมาชิกในเวที
ระหวางประเทศไดดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อใหไทยสามารถผลักดันและไดรับผลประโยชนดานตางๆ
เพิ่มมากขึ้นดวย ตัวอยางเชน
- อาเซียนขยายตลาดใหกับสินคาไทยจากประชาชนไทย ๖๐ ลานคน เปนประชาชน
อาเซียนกวา ๕๕๐ ลานคน ประกอบกับการขยายความรวมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสรางพื้นฐาน เชน
เสนทางคมนาคม ระบบไฟฟา โครงขายอินเทอรเน็ต ฯลฯ จะชวยเพิ่มโอกาสทางการคา และการลงทุน
ใหกับไทย
นอกจากนี้ อาเซียนยังเปนทั้งแหลงเงินทุนและเปาหมายการลงทุนของไทย และไทยได
เปรียบประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่มีที่ตั้งอยูใจกลางอาเซียน สามารถเปนศูนยกลางทางการคมนาคมและ
ขนสงของประชาคม ซึ่งมีการเคลื่อนยายสินคา บริการ และบุคคล ระหวางประเทศสมาชิกที่สะดวกขึ้น
- อาเซียนชวยสงเสริมความรวมมือในภูมิภาคเพื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่สงผลกระทบ
ตอประชาชนโดยตรง เชน SARs ไขหวัดนก การคามนุษย ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมอกควัน
ยาเสพติด ปญหาโลกรอน และปญหาความยากจน เปนตน
- อาเซียนจะชวยเพิ่มอํานาจตอรองของไทยในเวทีโลก และเปนเวทีที่ไทยสามารถใชใน
การผลักดันใหมีการแกไขปญหาของเพื่อนบานที่กระทบมาถึงไทยดวย เชน ปญหาพมา ในขณะเดียวกัน
ความสัมพันธพหุภาคี ในกรอบอาเซียนจะเกื้อหนุนความสัมพันธของไทยในกรอบทวิภาคี เชน ความ
รวมมือกับมาเลเซียในการแกไขปญหา ๓ จังหวัดชายแดนใตดวย