Page 81 - กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
P. 81
๗๔
ô.ô ¼Å¢Í§¡ÒâѴ¢×¹ËÁÒÂàÃÕ¡
การขัดขืนหมายเรียก หมายถึง การที่ผูถูกระบุในหมายไดรับหมายนั้น และไดรับทราบคําสั่ง
หรือคําบงการตามหมายนั้นแลวจงใจขัดขืนไมปฏิบัติตามนั้นโดยไมมีเหตุอันจะอางไดตามกฎหมาย
ผลทางกฎหมายแหงการขัดขืนหมาย แตกตางกัน แลวแตวาผูขัดขืนหมาย เปนพยาน
เปนผูมีเอกสาร หรือวัตถุในครอบครอง เปนผูตองหาหรือจําเลย กลาวคือ
๑. ผูรับหมายเปนพยานของพนักงานสอบสวน หรือเปนผูที่พนักงานสอบสวนสั่งให
สงเอกสาร หรือวัตถุ การขัดขืนหมายมีความผิดฐานขัดขืนคําบังคับของเจาพนักงาน (ตาม ป.อาญา
มาตรา ๑๖๘, ๑๖๙)
๒. ถาผูรับหมายเปนพยานของศาล หรือเปนผูที่ศาลสั่งใหสงทรัพยหรือเอกสารการขัดขืน
หมายเรียก มีความผิดฐานขัดขืนหมายหรือคําสั่งศาล (ตาม ป.อาญา มาตรา ๑๗๐)
๓. ถาผูรับหมายเปนผูตองหาหรือจําเลย ซึ่งขัดขืนหมายของเจาพนักงาน หรือศาล
แลวแตกรณี ¡ÒâѴ¢×¹ËÁÒ ทําใหเจาพนักงานหรือศาล มีอํานาจÍÍ¡ËÁÒ¨Ѻบุคคลนั้นได
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๖๖ วรรคทาย โดยสันนิษฐานวา “จะหลบหนี”
อันเปนเหตุออกหมายจับได แตไมมีโทษทางอาญาอยางอื่นอีก
นอกจากนี้ยังมีคําวินิจฉัยของศาลฎีกาที่วินิจฉัยวา ผูขัดขืนหมายที่เปนผูตองหาไมมี
ความผิดฐานขัดคําสั่งเจาพนักงานอีกกระทงหนึ่งเพราะ ป.วิ.อาญา มาตรา ๖๖ (๓) (ปจจุบันคือ
มาตรา ๖๖ วรรคทาย) กําหนดวิธีการในทางที่เปนโทษแกผูตองหาที่ขัดขืนหมายเรียกนั้นแลว
(ฎีกาที่ ๑๑๔๐/๒๔๘๑ และฎีกาที่ ๑๓๔๑/๒๕๐๙)
ô.ô.ñ ¼ÙŒÁÒμÒÁËÁÒÂàÃÕ¡ áμ‹äÁ‹ÂÍÁãËŒ¡ÒÃ
ผลของการไมยอมใหการหรือเบิกความแตกตางกัน แลวแตวาผูนั้นเปนผูตองหา
จําเลยพยานในชั้นสอบสวน หรือพยานในชั้นศาล
๑. ผูตองหาหรือจําเลย บุคคลเหลานี้กฎหมายไมบังคับวาตองใหการ แตถือเปน
สิทธิวาจะใหการก็ไดไมใหก็ได (มาตรา ๑๓๔/๓) ถาเขาไมเต็มใจใหการ กฎหมายเพียงใหเจาพนักงาน
หรือศาลบันทึกหรือจดรายงานไวเทานั้น (มาตรา ๑๓๔, ๑๖๕, ๑๗๒)
๒. พยานในชั้นสอบสวน เมื่อพยานมาตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวน
แลวแตไมยอมใหการเปนความผิดฐานขัดขืนคําบังคับของพนักงานสอบสวนที่ใหการ มีความผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๖๙
๓. พยานในชั้นศาล เมื่อพยานมาศาลแลวไมยอมเบิกความ ศาลอาจขังพยาน
ไวจนกวาจะยอมเบิกความ (ป.วิ.แพง มาตรา ๑๑๑ (๒)) และพยานยังอาจมีความผิดฐานขัดคําสั่งศาล
(ตาม ป.อาญา มาตรา ๑๗๑)