Page 96 - กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
P. 96

๘๙


                                                       º··Õè õ



                                                ¡ÒèѺáÅСÒäǺ¤ØÁ




                 õ.ñ ¡ÒèѺáÅСÒäǺ¤ØÁ

                             การจับกุมนั้นเปนการกระทําใหผูถูกจับเสียความเปนอิสรภาพ เจาพนักงานตํารวจจึงควร
                 ระมัดระวังการใชอํานาจในการจับและการกระทําเมื่อมีความจําเปน โดยใหถูกตองตามที่รัฐธรรมนูญ

                 และกฎหมายใหอํานาจไว พึงเขาใจวาวัตถุประสงคสวนใหญของการจับเพื่อประโยชนในการระงับ
                 ปราบปรามเหตุอันบังเอิญเกิดขึ้นเฉพาะหนา หรืออาจเกิดขึ้นเพื่อปองกันมิใหผูกระทําผิดมีโอกาส

                 หลบหนีไดสะดวกเทานั้น ดังนั้นในการปฏิบัติหนาที่ของเจาพนักงานตํารวจในการจับกุมบุคคลที่ตอง
                 สงสัยวาเปนผูกระทําความผิดนั้น จึงตองมีเครื่องมือที่สําคัญในการที่จะใชอํานาจ นั่นก็คือ หมายจับ

                             และเนื่องจากการจับกุมเปนการละเมิดสิทธิสวนบุคคลดังที่กลาวมาแลวนั้น ในประมวล
                 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๖๐ จึงกําหนดใหทําเปนหนังสือและในหมายจับจะตองมี

                 ขอความดังตอไปนี้
                             ๑.  สถานที่ที่ออกหมาย

                             ๒.  วันเดือนปที่ออกหมาย
                             ๓.  เหตุที่ออกหมาย

                             ๔.  ตองระบุชื่อหรือรูปพรรณของบุคคลที่จะถูกจับ
                             ๕.  ใหระบุความผิด



                 และหมายจับนั้นจะตองลงลายมือชื่อและประทับตราของศาลลงในหมายจับนั้นดวย ตามแบบพิมพที่ ๔๗

                 (สีขาว) (ทายขอบังคับของประธานศาลฎีกา วาดวยหลักเกณฑและวิธีการเกี่ยวกับการออกคําสั่ง
                 หรือหมายอาญา พ.ศ.๒๕๔๘)
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101