Page 36 - EBOOK-TRON_2018
P. 36
คว�มสำ�คัญและคว�มเป็นม�
ปัจจุบันอาหารเชิงสุขภาพโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีการโฆษณาคุณประโยชน์ต่อสุขภาพมีมากมาย เช่น
เครื่องดื่มสกัดเข้มข้น เครื่องดื่มผสมสารเชิงพันธภาพ ช่วยเสริมความงาม บำารุงสายตา บำารุงสมอง เครื่องดื่มผสม
ใยอาหาร เครื่องดื่มสำาหรับผู้ออกกำาลังกาย เครื่องดื่มสำาหรับผู้ชาย เครื่องดื่มสำาหรับผู้หญิง เป็นต้น เป็นที่ทราบ
กันดีว่าเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นเครื่องดื่มที่ให้คุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายโดยตรง มีผลต่อระบบการย่อยอาหาร
เจริญอาหาร ให้พลังงาน ทำาให้ร่างกายทำางานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่เครื่องดื่มที่พัฒนามาจากสมุนไพร ผัก
และผลไม้ของไทย ยังมีอยู่น้อยเพียงไม่กี่ชนิด เช่น น้ำาเฉาก๊วย น้ำาลำาไย น้ำากระเจี๊ยบ น้ำาใบบัวบก น้ำาใบแปะก๊วย
เป็นต้น ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพมาก จากความต้องการอาหารที่เสริมคุณประโยชน์
เพิ่มมากขึ้น เครื่องดื่มเสริมคุณประโยชน์ที่จำาหน่ายทั่วไปมักประกอบไปด้วยสารออกฤทธิ์ที่สามารถละลายได้
ในน้ำา แต่สารออกฤทธิ์ส่วนใหญ่ในอาหารที่มีสรรพคุณเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมักเป็นโมเลกุลที่ละลายในน้ำา
ได้ยาก เช่น กรดไขมันจำาเป็น ฟลาโวนอยด์ แคโรทีนอยด์ เป็นต้น ปัจจุบันเครื่องดื่มที่เสริมสารออกฤทธิ์เหล่านี้
ยังมีอยู่อย่างจำากัด เช่น ผลิตภัณฑ์นมเสริมโอเมก้า 3 เป็นต้น การศึกษาและพัฒนาเครื่องดื่มเสริมสารออกฤทธิ์
ชนิดไฮโดรโฟบิกที่มีประโยชน์เชิงสุขภาพจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
เฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีการเสริมสารออกฤทธิ์แล้วยังจะช่วย
เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารสำาคัญเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้สารสำาคัญเหล่านี้ยังได้มาจากผักพื้นบ้านของไทย
เช่น เพกา เป็นต้น ที่มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเบาหวาน ต้านไวรัส เป็นต้น เป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตผล
เกษตร และเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเครื่องดื่มน้ำาผลไม้อิมัลชัน
เสริมสารสกัดจากเพกา ที่มีสารสำาคัญเชิงฟังก์ชัน เป็นผลิตภัณฑ์
ต้นแบบ
2. เพื่อสร้างวัตถุดิบอาหารฟังก์ชันจากสมุนไพรไทย
3. เพื่อศึกษาแนวทางการนำาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์
สำาหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
จุดเด่น
1. เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่น ชุ่มคอ จากน้ำาผลไม้แต่มีคุณประโยชน์จากสมุนไพร
2. มีคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าน้ำาเบอร์รี่
3. มีอายุการเก็บรักษานานกว่า 3 – 6 เดือน
4. ชาวต่างชาติให้ความยอมรับ
ก�รนำ�ผลง�นวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ใช้เป็นเครื่องดื่มเชิงสุขภาพในสถานบริการอาหาร
2. ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561 | 36