Page 24 - TTIA Directory 2018
P. 24

Tuna Industry Outlook



                                                  ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ปลาในมหาสมุทร
                                             เหลือเพียง 60-70 ล้านตัน ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วง
                                             คือ ทรัพยากรทะเลของโลกที่น้อยลง ปัจจุบัน
                                             ปลาทูน่ามีปริมาณลดลง โดยสาเหตุหลักมา
                                             จากโลกร้อน และการจับปลาที่มากเกินไป
                                             ทางสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยเน้นการท�า
                                             ประมงอย่างยั่งยืน และขจัดปัญหาการท�า
                                             ประมงผิดกฎหมาย โดยแสดงจุดยืนในการ
        แก้ไขปัญหาการท�าประมงผิดกฏหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unre-
        ported, and Unregulated (IUU) Fishing) และปัญหาการค้ามนุษย์(Human Trafficking)
        ว่าสมาคมมีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามหลักสากลและกฏหมายไทย ทางด้านการประมงและ
        ผลิตสินค้าอย่างยั่งยืน ปราศจากการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์

              อุตสาหกรรมปลาทูน่าของไทยมีวัตถุดิบที่จ�ากัด จึงจ�าเป็นต้องพึ่งการน�าเข้าปลาทูน่าสด
        และแช่แข็งจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด แหล่งน�าเข้าที่ส�าคัญ คือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ คีรีบาติ
        และปาปัวนิกินี ทั้งนี้วัตถุดิบในการผลิตสินค้าทูน่าของไทยน�าเข้าจากแหล่งที่มีการท�าประมง
        อย่างยั่งยืน ส่วนราคาน�าเข้าจะผันแปรตามชนิดของปลาทูน่า ซึ่งปลาทูน่าน�้าลึกไม่สามารถจับ
        ได้ในแถบทะเลไทยและเป็นปลาที่ตลาดต้องการ โดยแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่ ปลาทูน่าท้อง
        แถบ (Skipjack Tuna) ปลาทูน่าครีบเหลือง (Yellowfin Tuna) ปลาทูน่าครีบยาว (Albacore
        or Long finned Tuna) ปลาทูน่าตาโต (Bigeye Tuna) และปลาทูน่าครีบน�้าเงิน (Bluefin
        Tuna)
             ส�าหรับในประเทศไทยใช้ปลาทูน่าท้องแถบ เป็นวัตถุดิบในการผลิตมากที่สุด เนื่องจากมี
        ปริมาณมากและแหล่งจับปลาจะอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ฝั่งตอนกลาง ตะวันตก และ
        ตะวันออก รวมถึงมหาสมุทรอินเดีย โดยในกระบวนการผลิตถูกควบคุมความปลอดภัยอาหาร
        ด้วยระบบ HACCP (Hazard Analysis and Critical Point System) และ GMP(Good
        Manufacturing Practice) ตามหลักมาตรฐานสากล และมีการน�าเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามา
        ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อวิจัยและพัฒนาต่อยอดทูน่ากระป๋องให้มีประโยชน์มากที่สุดส�าหรับ
        ผู้บริโภค

             ทั้งนี้อุตสาหกรรมทูน่ามีความท้าทายส�าหรับผู้ประกอบการที่ผลิตและส่งออก เนื่องจาก
        ปลาทูน่าเป็นหนึ่งในพันธุ์ปลาที่นิยมและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก จึงจ�าเป็นต้องมี
        มาตรการการอนุรักษ์และบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรทางทะเล เพื่อการเติบโตของ
        อุตสาหกรรมอย่างเหมาะสมและยั่งยืน



      24
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29