Page 216 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การดูสภาพจิต
P. 216

736
ปฏิบัติ เมื่อก่อนที่อาจารย์เคยบอกว่า ลองเติมความรู้สึกว่าเป็นเรา ใส่ความรู้สึกว่าเป็นเรา มาที่ตัวสิ รู้สึก อย่างไร เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออกจากตัว เรารู้สึกว่าเป็นอย่างไร อันไหนสบายกว่ากัน
เอาความรู้สึกว่าเป็นเรามาที่ตัว กับเอาความรู้สึกว่าเป็นเราออกจากตัว อันไหนเบากว่ากัน อันไหน สบายกว่ากัน นี่คือเป็นการพิสูจน์ว่า การที่มีตัวตนขึ้นมา ทั้ง ๆ ยังไม่รู้เลย มีโลภะ โทสะ โมหะ ตัวไหนไม่รู้ แต่รู้สึกว่ามีน้าหนักขึ้นมาแล้ว นั่นคือลักษณะของการที่เห็น รูปนามเป็นส่วนเดียวกัน เป็นอันเดียวกัน หรือ มีเราเกิดขึ้น มีอัตตาเกิดขึ้น จริง ๆ แล้ว พอเป็นแบบนี้ปุ๊ป การที่มีอัตตา ความเข้าใจว่าเป็นเราเกิดขึ้นเมื่อ ไหร่ ความเห็นว่าเป็นเราเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เขาก็มีน้าหนักโดยปริยาย
เพราะฉะนั้น การแยกจิต การแยกรูปนาม แล้วทาจิตให้ว่าง ให้กว้างเป็นบรรยากาศรองรับเรื่อย ๆ อีกส่วนหนึ่งก็คือ ป้องกันความเป็นตัวตน แล้วถ้าเห็นชัดแบบนี้ จริง ๆ แล้ว พอเห็นชัด ความเห็นว่าเป็น ตัวตนเกิด คือทิฏฐิ เขาเรียกว่าสักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นเรา เป็นของเรา แต่พอเห็นแบบนี้ ขณะที่เห็น ถึงความเป็นคนละส่วนรูปนาม ความเห็นว่าเป็นตัวเราของเราหายไป ไม่มีความเป็นเรา แต่สิ่งหนึ่งก็คือว่า เข้าถึงความไม่มีเรา อันนี้สาคัญมาก ๆ
เข้าสู่ถึงความเป็นอนัตตา แล้วไม่เข้าใจว่า ความคิดที่เราคิดว่าเป็นของเรา อันนั้นของเรา อันนี้ของ เรา ทาไมยังเกิดซ้าอยู่ ทาไมยังเกิดซ้าอยู่ แล้วเราก็แบกคาว่าเรานี่อยู่ ทั้ง ๆ ที่เห็นอยู่ว่า เอ่อ!ไม่มีอะไรเป็น ของเราเลยนะ แล้วธรรมชาติทุกอย่าง เขาก็เปลี่ยนไป ทั้งรูปนามเปลี่ยนแปลงไป ทาอย่างไร เราไม่มองตาม ธรรมะแบบนี้ ทาอย่างไร เราถึงจะมองด้วยธรรมแบบนี้ เอาธรรมะ เอาสัจธรรมตรงนี้เป็นตัวตั้งว่า อ๋อ!เขา เป็นธรรมดา เราคิดได้ แต่ถ้าไม่เห็น...ด้วยความรู้สึกจริง ๆ นี่นะ...ทาไม ถ้าเห็นตรงนี้ เอาตัวนี้เป็นที่ตั้ง จิต จะมีความอิสระมากขึ้น จิตจะมีความเบา มีความอิสระ มีความโล่งขึ้น เพราะนั่นคือธรรมชาติ นั่นคือเป็น สภาวธรรมปกติ
แล้วที่บอกว่า การคลายอุปาทาน การวางจิตของเรา วางจิตอย่างไร วางจิตแบบให้เป็นธรรมชาติ ให้กว้าง ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรา ที่อาจารย์บอกว่า ไม่ใช่แค่วางจิตให้เป็นกลาง เพราะอะไร การที่ทาจิตให้ ว่าง ไม่มีตัวตน เขาจะเป็นกลางโดยอัตโนมัติ แต่สิ่งหนึ่งที่ตามมาก็คือว่า จิตที่มีความสงบ มีความผ่องใส เขาจะพัฒนามีความใสขึ้น มีความสุขมากขึ้นได้ มีความสว่างมากขึ้น มีความละเอียดมากขึ้นได้ ไม่ใช่แค่ นิ่ง ๆ อยู่แค่นั้นเอง ไม่ใช่แค่วางเฉย แต่เป็นจิตที่มีความสงบ แล้วอิสระจากการถูกครอบงาด้วยอารมณ์ ด้วยผัสสะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ตรงนี้แหละเป็นความพิเศษว่า การดูจิตในจิต หรือการที่มีบรรยากาศรองรับ จึงบอกว่า ไม่ใช่แค่ ปล่อยให้เป็นกลาง ๆ โดยที่ไม่สนใจ หรือว่าเฉยเมย หรือวางเฉยอย่างเดียว ทุกครั้งที่เรารู้แบบนี้ แล้วยิ่ง ดูจิตที่ว่างเบา จิตที่มีความสุขขึ้น จิตที่มีความสุข มีความอ่อนโยน มีเมตตาเกิดขึ้น อันนั้นไม่เรียกว่าวาง เฉยหรือเป็นกลาง จิตที่มีเมตตาก็คือเมตตา จิตที่เฉยก็คือเฉย จิตที่มีความสุข เขาเรียกว่าสุข จิตที่ใสคือ ใส แต่...เจตนาของเราต่างหาก เจตนาที่จะไม่ใส่ใจ ที่จะวางเฉย กับอารมณ์อันนั้น


































































































   214   215   216   217   218