Page 28 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การดูสภาพจิต
P. 28

548
เหลืออย่างเดียวคือตัวปัญญา “อยากรู้ว่า”สภาวธรรมที่กาลังปรากฏนี้เป็นไปในลักษณะอย่างไร มีความ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ต่างจากเดิมอย่างไร การที่เราอยากรู้แบบนี้เป็นวิธีที่จะพัฒนาปัญญาของเราให้ เกิดขึ้น
ในขณะที่เราตามรู้ลมหายใจเข้า-ตามรู้ลมหายใจออก นอกจากรู้ว่าลมหายใจมีการเปลี่ยนแปลง เกิดดับอย่างไรแล้ว อีกจุดหนึ่งที่พึงพิจารณา คือให้สังเกตดูด้วยว่า “จิตที่ทาหน้าที่รู้” กับ “ลมหายใจเข้า- ลมหายใจออก” เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน ทาไมจึงให้พิจารณาตรงนี้ ? เพื่อให้เห็นความจริง ของรูปกับนาม/กายกับใจนั่นเอง เรามักจะรู้สึกว่าเรามีสติตามรู้ลมหายใจเข้า-ออก ตามรู้ความคิด ตามรู้ เวทนาที่เกิดขึ้น ฯลฯ แต่บางทีลืมสังเกตลืมพิจารณาดูว่า คาว่าเราตามรู้ลมหายใจเข้า-ออก ตรงที่เรียกว่า “เรา” ตรงนั้นคืออะไร ? ตรงที่เรียกว่าเราก็คือจิตหรือสตินั่นแหละ
แต่ทีนี้ก็คือ ลืมพิจารณาว่า “เราผู้ตามรู้” กับ “ลมหายใจ” เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน มีแต่การตามรู้อย่างเดียว รู้ให้ทันอารมณ์อย่างเดียว รู้ให้ทันอาการที่เกิดขึ้นอย่างเดียว พยายามที่จะรู้ให้ เท่าทันอารมณ์ที่เข้ามากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ลืมสังเกตว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับลมหายใจ เข้า-ออกเขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน... เมื่อมีอาการของพองยุบเกิดขึ้นมาก็สังเกตแบบเดียวกันว่า “พองยุบ” กับ “จิตที่ทาหน้าที่รู้” เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน การพิจารณาการสังเกตแบบนี้จะ ทาให้เราเกิดปัญญาเห็นชัดถึงความเป็นธรรมชาติของรูปนาม รูปกับนามแยกกันอย่างไร
พระพุทธเจ้าตรัสว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือขันธ์ทั้งห้า ย่อลงมาก็เหลือแต่รูป กับนาม เหลือแต่กายกับใจ แล้วเราก็มักจะใช้คาว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว” จิตไม่สั่ง-กายก็ไม่ทา แต่ ทา ไมเรายงั รสู้ กึ วา่ กายเปน็ ของเรา จติ เปน็ ของเรา ? เพราะไมม่ เี จตนาเขา้ ไปพจิ ารณาใหช้ ดั เจนแจม่ แจง้ ดว้ ย ตาปัญญาของตนเองว่า “จิต” กับ “กาย” ต่างกันอย่างไร เขาแยกกันอย่างไร ถ้าแยกกันแล้วเป็นอย่างไร... ทีนี้ เมื่อเริ่มเห็นลมหายใจเข้า-ออกกับจิตที่ทาหน้าที่รู้เป็นคนละส่วนกัน พิจารณาต่อไปว่า “ตัวที่นั่งอยู่” กับ “จิตที่ทาหน้าที่รู้” เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน ? ให้สังเกตในลักษณะอย่างนี้เพื่อพิจารณาความ เป็นจริงของรูปนาม
ถา้ เหน็ วา่ จติ กบั กายเปน็ คนละสว่ นกนั เลย สงั เกตตอ่ ไปวา่ แลว้ กายทนี่ งั่ อยเู่ ขาบอกวา่ เปน็ เราไหม ? จติ ทแี่ ยกออกมาจากกาย จติ ดวงนนั้ บอกวา่ เปน็ เราดว้ ยหรอื เปลา่ หรอื เปน็ สงิ่ สงิ่ หนงึ่ ทที่ า หนา้ ทรี่ ถู้ งึ กายทนี่ งั่ อยู่เท่านั้นเอง ? ที่ถามว่า “เขาบอกว่าเป็นเราหรือเปล่า ?” เพื่อการพิจารณาให้เห็นถึงสัจธรรมความเป็นจริง ว่า คาว่าอนัตตา ความไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นั้นอยู่ตรงไหน ถ้าเราคิดเอาเองว่าเขาก็คงไม่บอก ว่าเป็นเราหรอก หรือเมื่อแยกกัน เขา “ต้อง” ไม่ใช่เรา ตรงนี้คือการอนุมานการอนุโลมตามสิ่งที่เราได้ยินมา หรือได้ศึกษามา แต่การที่เห็นด้วยสติ-สมาธิ-ปัญญาของตนเองจริง ๆ ณ ขณะนี้เดี๋ยวนี้ นั่นสาคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทาให้เรารู้ชัดเห็นแจ้งด้วยตาปัญญาของเราเองว่ารูปนามอันนี้เป็นอย่างไร
การพิจารณาเห็นถึง “ความเป็นคนละส่วน” เป็นการละสักกายทิฏฐิ ความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นตัวเรา เป็นของเราจะถูกทาลายไป จะเห็นด้วยตาปัญญาของเราจริง ๆ เพราะฉะนั้น การที่จะละอย่างสิ้นเชิง ละ


































































































   26   27   28   29   30