Page 26 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การดูสภาพจิต
P. 26
546
นอกจากเวทนาทางกายก็มีเวทนาทางจิต มีความสุข มีความเฉย มีความสงบ มีความขัดเคือง ขุ่นมัวขึ้นมา เมื่อมีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นมา ก็มีเจตนาที่จะเข้าไปกาหนดรู้ถึงการเกิดข้ึน- ตงั้ อย-ู่ ดบั ไป ดคู วามเปลยี่ นไป การดเู วทนาทางจติ กเ็ หมอื นการดจู ติ ในจติ เหมอื นทเี่ รารวู้ า่ จติ ใจตอนนเี้ ปน็ อย่างไร รู้สึกขัดเคืองขุ่นมัว รู้สึกอึดอัด หรือว่าขณะนี้จิตใจรู้สึกผ่องใสเบิกบาน มีความรู้สึกโล่ง โปร่ง เบา สงบ สงัด มีความนิ่มนวลอ่อนโยน นี่คือลักษณะของจิตที่ปรากฏเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นกับใครก็จะรู้สึกได้ทันที แม้แต่ขณะที่เรานั่งอยู่ ถ้าเราสารวจดูก็จะเห็นว่าจิตใจเป็นอย่างไร
ถามว่า เวทนาทางจิตเขาจะเกิดขึ้นตอนไหน ? ที่จริงแล้วในการปฏิบัติธรรม ตั้งแต่เรากาหนดดู ลมหายใจเขา้ -ออก เรากจ็ ะตอ้ งรสู้ กึ ไดใ้ นตวั อยแู่ ลว้ วา่ เมอื่ มเี จตนาเขา้ ไปกา หนดรถู้ งึ การเกดิ ขนึ้ -ตงั้ อย-ู่ ดบั ไปของลมหายใจเข้า-ออก หรือตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของลมหายใจไปเรื่อย ๆ ทาให้จิตใจรู้สึกอย่างไร... รู้สึกสงบขึ้น นิ่งขึ้น นั่นคือเห็นจิตไปในตัว ดูกายก็เห็นจิต ดูจิตก็เห็นกายว่าเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เมื่อจิตเรารู้สึกสงบขึ้นนิ่งขึ้น พอมาดูที่กาย กายก็รู้สึกนิ่ง รู้สึกตั้งมั่นขึ้น รู้สึกสารวมขึ้นด้วยเช่นกัน อันนี้ คือรูปนามไปด้วยกัน มีผลซึ่งกันและกัน เป็นปัจจัยแก่กันและกัน เพราะฉะนั้น การกาหนดรู้สภาวธรรมที่ เกิดขึ้น เราสังเกตในลักษณะอย่างนี้
ทีนี้ การกาหนดรู้เวทนาที่เกิดขึ้น เรามีเป้าหมายที่จะเข้าไปกาหนดรู้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป รู้ ถึงกฎของไตรลักษณ์ เหมือน(กาหนด)ลมหายใจ เหมือน(กาหนด)อาการพองยุบเลย แบบเดียวกัน เพราะ อะไร ? เพราะนั่นคือธรรมชาติที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวงที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นสิ่งที่เสมอกันทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์ทั้งห้าก็ตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เพราะฉะนั้น จึงให้ใส่ใจการเกิดดับความเปลี่ยนแปลงเป็นสาคัญ นี่คือหลักของวิปัสสนากรรมฐาน
เมื่อเรารู้อย่างนี้ เราจะเข้าใจอะไร เราได้รู้อะไร ? รู้ธรรมชาตินั่นเอง รู้ธรรมชาติของรูปนามว่าเป็น อยู่อย่างนี้ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ลองพิจารณาดี ๆ สิว่า มีอะไรบ้างที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีอะไรที่เกิดขึ้น มาแล้วค้างอยู่อย่างนั้น ? ถ้าหายใจเข้าแล้วหยุดค้างอยู่อย่างนั้น ไม่หายใจออก แล้วจะเป็นอย่างไร ? ถ้า หายใจออกสุดไปแล้วก็หยุดค้างอยู่อย่างนั้น ไม่หายใจเข้า จะเป็นอย่างไร ? หรือถ้าหายใจเข้า ไม่หายใจ ออก เป็นไปได้ไหมตราบเท่าที่เรายังมีชีวิตอยู่ ? เพราะฉะนั้น จึงให้สังเกตรู้อาการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ จะ ได้เห็นถึงความเป็นจริงว่าเป็นไปในลักษณะอย่างไร
อย่างที่บอกแล้วว่าการดูจิตในจิต นอกจากรู้ว่าสงบ สุข เบา ว่าง เฉยแล้ว ที่สาคัญเลยเวลาเรา เจริญกรรมฐาน ถ้าเห็นว่าสภาพจิตรู้สึกสงบ สุข เฉย ว่าง ก็จะไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหาก็คือ เวลาที่เรานั่ง กรรมฐานนั่งสมาธิไปแล้ว มีความคิดเกิดขึ้นมากมายที่เราเรียกว่าฟุ้งซ่าน ฟุ้งไปนู่นไปนี่ คิดเรื่องนู้นเรื่องนี้ ทั้งเรื่องของอดีตเรื่องของอนาคต มีความคิดมากมายหลายเรื่องเข้ามา นี่ก็เป็นอารมณ์ของจิตอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น การดูจิตในจิตก็คือ รู้ว่าขณะนี้จิตกาลังคิดอะไร แล้วความคิดที่เกิดขึ้นมามีการเปลี่ยนแปลง เกิดดับอย่างไร ให้มีเจตนาที่จะรู้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของความคิด อันนี้อย่างหนึ่ง