Page 24 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การดูสภาพจิต
P. 24

544
ทีนี้ คาว่า “การดูกายในกาย” หรือ “กายานุปัสสนา” นั้นเป็นอย่างไร ประมาณไหนอาการอย่างไร ที่เรียกว่าดูกายในกาย การรู้กายในกาย จะรู้เป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด หรือว่าเป็นอะไร ? ตามหลักเลยในการเจริญกรรมฐาน เวลาเราหลับตาลง อาการของกาย ที่ปรากฏขึ้นมาก็คือ อาการที่เราหายใจเข้า-หายใจออก ที่เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจาวันของเรานี่แหละ แต่พอมาเจริญกรรมฐานพอมานั่งสมาธิ ก็มีเจตนาที่จะรู้ถึงการเข้า-ออกของลมหายใจของเราว่าเป็นไป อย่างไร มีสติตามกาหนดรู้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของลมหายใจ รู้ถึงการเปลี่ยนไปของลมหายใจ
ทา ไมจงึ ตอ้ งรถู้ งึ ความเปลยี่ นแปลงเปลยี่ นไปของลมหายใจ ? เพราะการตามรลู้ มหายใจมเี ปา้ หมาย อย่างหนึ่งคือเพื่อให้มีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน มีสติรู้อยู่กับปัจจุบันเพื่ออะไร ? มีสติรู้อยู่กับปัจจุบันเพื่อให้จิต มีสมาธิ มีความสงบ มีความสงัด มีความเงียบ มีความตั้งมั่นของจิต เพื่อการพัฒนาสมาธิของเรานั่นเอง ธรรมชาติของคนเราจะมีความรู้สึกว่าจิตที่ไม่มีสมาธิจะวิ่งซัดส่ายไปมาไปหาอารมณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทาให้จิตไม่มีสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น เพราะฉะนั้น เวลาเจริญกรรมฐาน ท่านจึงให้มีอารมณ์ หลักให้กับจิตที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน และอารมณ์ปัจจุบันที่กาลังปรากฏต่อหน้าเราโดยที่เราไม่ต้องสร้างไม่ ต้องบังคับก็คือลมหายใจของเรานั่นเอง
ลมหายใจเขา้ -ออกของเราจะเปน็ อยอู่ ยา่ งนตี้ ลอดเวลา ไมว่ า่ จะเปน็ การยนื เดนิ นงั่ นอน กนิ ดมื่ ทา พูด คิด ลมหายใจก็ยังทาหน้าที่ของตน แต่เวลาเรานั่งกรรมฐาน เมื่อเรามีเป้าหมายที่จะรู้ลมหายใจ จิตของ เราก็จะอยู่ที่เดียว ยิ่งสติของเราอยู่ที่อารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่องยาวนานเท่าไหร่ สมาธิก็จะยิ่งตั้งมั่นมากขึ้น เรื่อย ๆ ทีนี้ เป้าหมายของการพิจารณาตามรู้ลมหายใจตรงนี้ เราจะรู้อย่างไร ? เรารู้แค่หายใจเข้า-หายใจ ออก หายใจเข้า-หายใจออก... ไปตามธรรมดา หรือว่ารู้อย่างไร ? เป้าหมายในการตามรู้ลมหายใจคือตามรู้ ความเปลี่ยนแปลง ทาไมต้องตามรู้ความเปลี่ยนแปลง ?
เพราะความเปลี่ยนแปลงคือกฎของไตรลักษณ์ เป็นธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลง การเกิดขึ้น- ตั้งอยู่-ดับไป เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป... ลมหายใจของเราก็เช่นกัน อาการของลมหายใจที่ปรากฏเกิดขึ้นนี่ เราไม่ต้องสร้างไม่ต้องบังคับ ให้ตามรู้ลมหายใจที่กาลังเป็นอยู่ รู้ว่าลมหายใจเข้ามีอาการอย่างไร มีการ เปลยี่ นแปลงอยา่ งไร... ยาวแคไ่ หน เบาแคไ่ หน ชดั แคไ่ หน หายใจเขา้ สดุ -เขามอี าการหยดุ ไปกอ่ นหรอื ดบั ไป ก่อนไหม-ก่อนที่ลมหายใจจะออกมา ? สังเกตพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของลมหายใจแบบนี้ ทั้ง หายใจเข้าทั้งหายใจออก ตรงนี้เขาเรียกว่า “อนุปัสสนา” คือตามกาหนดรู้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของ ลมหายใจ
และในขณะที่หายใจเข้าหรือออก ลมหายใจเป็นเส้น เป็นคลื่น เป็นกลุ่ม หรือมีอาการฝอย ๆ หรือ มีอาการสะดุด... นั่นคือการใส่ใจรายละเอียดของลมหายใจเพิ่มขึ้น ๆ นี่คือการพิจารณาถึงความเปลี่ยนไป ต่างไปหรือความเป็นอนิจจังของลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก ให้เรามีเป้าหมายพิจารณาในลักษณะอย่างนี้ และการสนใจความเปลี่ยนแปลงของลมหายใจเข้า-ออกเป็นการเจริญวิปัสสนา ให้มีเจตนาที่จะรู้ถึงความ เป็นอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตาของลมหายใจ ทาไมถึงบอกว่าบังคับบัญชาไม่ได้ ทาไมถึงเกิดขึ้นแล้วต้องดับไป


































































































   22   23   24   25   26