Page 43 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การดูสภาพจิต
P. 43

563
เกิดความกลัวขึ้นไหม ? และมีเจตนาที่จะรู้ว่าเวทนาที่ปรากฏเกิดขึ้นมานั้นมีการเกิดดับหรือเปลี่ยนแปลง ในลักษณะอย่างไร นี่คือการที่เราให้อารมณ์ต่าง ๆ เกิดอยู่ในบรรยากาศ
ทีนี้ ความคิดที่เกิดขึ้นก็เช่นกัน เมื่อจิตเรากว้างจนเป็นบรรยากาศ เวลามีความคิดแทรกเข้ามา ก็ ต้องมีเจตนาที่จะสังเกตแบบเดียวกัน ถ้าให้เสียงเกิดอยู่ในบรรยากาศได้ แล้วความคิดที่เข้ามาล่ะ เขาเกิด อยู่ในบรรยากาศด้วยหรือเปล่า ? เมื่อไหร่ไม่มีเจตนาที่จะรู้ ส่วนใหญ่ความคิดก็จะเข้ามาถึงใจ/เข้ามาถึง ตัวเสมอ แต่เมื่อไหร่ที่เรามีเจตนาที่จะให้ความคิดเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ เกิดอยู่ในบรรยากาศ ความคิดนั้น ยังมีรสชาติบีบคั้นจิตใจไหมหรือว่าน้อยลงกว่าเดิม รบกวนจิตใจเราไหม หรือเป็นแค่เพียงความคิดที่ เกิดขึ้นในที่ว่าง ๆ แต่สภาพจิตก็ยังมีความสงบ มีความหนักแน่น มีความมั่นคงอยู่ ? นี่คือวิธีการสังเกต ให้อารมณ์ต่าง ๆ เกิดอยู่ในบรรยากาศ หรือให้มีบรรยากาศรองรับ
อารมณ์เหล่านี้นี่แหละเขาจะเวียนเข้ามาเป็นระยะ ๆ ให้เราได้รับรู้ได้ดูได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ที่เป็นอาการพระไตรลักษณ์ ที่เรายกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาได้ก็ต้องอาศัยอารมณ์เหล่านี้ อะไรที่เป็นอุปสรรค หรือเป็นตัวกีดขวางให้รู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้เลย—ความคิดรบกวน ความปวดเข้ามา เสียงเกิดขึ้นมาแล้ว รบกวนจิตใจของเรา ? สังเกต เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าสิ่งนั้นรบกวนจิตใจ...ก็เข้าถึงใจ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ เห็นว่า(สิ่งนั้น)เกิดอยู่ในที่ว่าง...ก็จะไม่รบกวนจิตใจของเรา จาได้ไหม ตอนที่ปฏิบัติใหม่ ๆ อาจารย์ให้ยก จิตขึ้นสู่ความว่าง แล้วให้คิดถึงเรื่องที่เราไม่สบายใจ โดยให้ความคิดอยู่ในที่ว่าง ๆ ข้างหน้า นั่นคือการมี เจตนาที่จะให้ความคิดอยู่ในบรรยากาศในที่ว่าง ๆ นั่นเอง
ทีนี้ ทาไมถึงให้ความคิดอยู่ในบรรยากาศได้ ? ตรงนี้สาคัญมาก ๆ เพราะการที่เรามีปัญญาเห็น ชัดถึงความเป็นคนละส่วนระหว่าง “ตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้หรือตัววิญญาณรู้” กับ “ตัวจิตที่กาลังคิดอยู่” พอมี ตาแหน่งอยู่ข้างหน้าหรือสนใจข้างหน้า ความคิดกลับปรากฏอยู่ข้างหน้า คือสนใจตรงไหน/วางตาแหน่งสติ ตรงไหน อารมณ์เขาจะปรากฏตรงนั้น แล้วพอเห็นว่าความคิดเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ อยู่ในบรรยากาศปุ๊บ เรื่อง ที่เคยบีบคั้นเคยทาให้มีความทุกข์ขึ้นมา กลับไม่กระทบจิตใจ กลับไม่บีบคั้นจิตใจ เพราะอะไร ? เพราะการ เห็นความเป็นคนละส่วนระหว่างอารมณ์กับจิต
ทีนี้เราก็จะกาหนดรู้อาการเกิดดับได้ง่ายขึ้น เพราะตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้กับเรื่องที่คิดไม่ได้เป็นส่วน เดียวกัน จึงเห็นการเกิดดับของความคิดได้ง่าย เมื่อไหร่ที่มีความคิด เราก็แค่มีเจตนาสังเกตอาการของ ความคิดที่เกิดอยู่ในบรรยากาศว่าเขาเกิดดับเปลี่ยนแปลงในลักษณะอย่างไร นี่แหละคือการมีบรรยากาศ รองรับ เมื่อสติมีกาลังมากขึ้นละเอียดขึ้น จากอารมณ์บัญญัติก็เปลี่ยนเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ คือเหลือแต่ อาการเกิดดับที่ปรากฏขึ้นมาในบรรยากาศ แล้วบรรยากาศตรงนี้ก็จะเปลี่ยนไป จากที่แคบ ๆ สงบ ว่าง ๆ เบา ๆ สภาพจิตใจอาจจะเปลี่ยนเป็นใสขึ้น ตื่นตัวขึ้น ตั้งมั่นขึ้น สว่างขึ้น สงบมากขึ้น กลายเป็นว่าอารมณ์ ต่าง ๆ ก็จะปรากฏในบรรยากาศของความสงบหรือบรรยากาศของความใสที่เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น การที่เราสนใจอาการเกิดดับหรือสนใจสภาพจิต มีเจตนาที่จะรู้ถึงบรรยากาศรองรับ อากัปกิริยาอาการเคลื่อนไหวของร่างกายของรูปอันนี้เนือง ๆ บ่อย ๆ ไม่ว่าจะยืนจะเดินจะนั่งจะนอน จะ


































































































   41   42   43   44   45