Page 89 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การดูสภาพจิต
P. 89

609
แต่ธรรมชาติของจิตอย่างนี้ พอไม่ปฏิบัติ กลายเป็นว่าเราก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ทุกอย่างก็เป็นไป ตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามกรรม หรือเป็นไปตามยถากรรม แล้วแต่อะไร จะเกิดขึ้นก็ไปตามเหตุปัจจัยไป เรื่อย ๆ โดยที่ไม่มีการใช้สติ หรือใช้ปัญญาเข้าไปพิจารณา แก้ไข หรือปรับปรุง พัฒนาจิตให้ดียิ่งขึ้น บาง คนสติไม่ดีก็ใช้สติเหมือนเดิม ไม่เคยคิดจะพัฒนาสติตัวเอง บางครั้งพอปฏิบัติธรรมก็คิดว่ามันไม่ปกติ อยู่ ที่บ้าน โกรธบ้าง หงุดหงิดบ้าง ราคาญบ้าง เรียกว่าเป็นคนปกติ ถ้าอยู่ที่บ้านจะเป็นคนนิ่ง ๆ เฉย ๆ ไม่เงียบ ไม่พูดจา นี่ผิดปกติแล้ว สงบเกินไป นี่ก็คืออย่างหนึ่ง
แต่ที่ประเด็นก็คือว่า เรื่องของจิต ลักษณะของธรรมชาติของจิตแบบนี้ ที่เราพัฒนาก็คือ พัฒนา จิต พัฒนาความรู้สึก ตรงนี้แหละ จิตที่ดี เพื่อขัดเกลาจิตตรงนี้ให้ดีขึ้น แต่สิ่งที่ต้องพัฒนา กลายเป็นว่าเรา พัฒนาอะไร การที่เราจะทาให้จิตที่มีความทุกข์ ความทุกข์ลดลง จิตที่ขุ่นมัว เกิดความผ่องใส จิตที่หนัก เกิดความเบา เกิดความโล่ง ความโปร่งขึ้นมาได้นี่นะ คือการปล่อยวาง ตรงนั้น...จิตตรงนั้นแหละ เรา พัฒนาอะไร พัฒนาสติสมาธิปัญญา แล้วก็กลายเป็นการพัฒนาจิตไปในตัว
ทีนี้จิตจึงแยกออกมาเป็นอยู่ ๓ ส่วน น่าจะเคยได้ยินแล้วนะ ที่อาจารย์บอกว่าจิตมีอยู่ ๓ ส่วน หนึ่ง สภาพจิตใจ อย่างที่บอกแล้วเมื่อกี้นี้ มีความสุข ความทุกข์ ความสงบ ความผ่องใส ความเบิกบาน ความอสิ ระ อนั นคี้ อื ลกั ษณะของสภาพจติ แตอ่ กี อยา่ งหนงึ่ คอื ความคดิ ความคดิ ความเหน็ ทฏิ ฐขิ องคนเรา ความคิดต่าง ๆ เรื่องราว มีความคิด มีมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยจิตของเรา นั่นคือลักษณะ
พอมีความคิดเกิดขึ้นมา สังเกตทาอะไรก็ต้องคิด มีปัญหาก็ต้องคิด ไม่มีปัญหาก็ต้องคิด ที่เราบอก วา่ อาการทเี่ กดิ กบั ใจ จติ อยา่ งหนงึ่ ลกั ษณะของความคดิ ทเี่ กดิ ขน้ึ และอกี อยา่ งหนงึ่ กค็ อื ตวั จติ ทที่ า หนา้ ทรี่ ู้ อารมณ์ต่าง ๆ ที่เราเรียกว่าตัวสติ วิญญาณรู้ ที่เรียกว่าเป็นเรา เราตามรู้ดูโน่น ดูนี่ เรารู้ เราเห็น เราทา เราเป็น เรารับรู้ ตัวรู้ตัวนี้คือ ตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้
แต่ตามหลักแล้วนี่นะ เขาเรียกว่าตามหลักของขันธ์ เขาเรียกว่าวิญญาณขันธ์ ถ้าเรียกเป็นจิต ถ้า เรียกวิญญาณคือ จิตที่ทาหน้าที่รู้ ถ้าเกิดมารับรู้ทางกาย ก็เรียกกายวิญญาณจิต เห็นไหม เกิดมารับรู้ทาง หู เขาเรียกว่าโสตวิญญาณจิต มารู้ทางตาก็เรียกว่า อะไรนะ จักษุใช่ไหม เอ่อ! จักษุวิญญาณ คือจิตดวงนี้ ทาหน้าที่รับรู้ทวารไหน ก็เรียกชื่อตามนั้น คือรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
รับรู้ทางไหน พอรับรู้ทางจิตเรียกว่ามโนทวาร จะกลายเป็นว่า จิตที่รับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นภายใน จิตใจ ถามว่าความคิดเกิดตรงไหน เกิดทางตา หรือเกิดในใจ...เกิดในใจ เพราะฉะนั้น นี่เขาเรียกความคิด เป็นอารมณ์ที่เกิดทางมโนทวาร มโนทวารที่เกิดขึ้น อย่างภาพที่เราเห็น เวลาสภาวธรรมที่มีอาการไหว ๆ มี อาการการกะพริบ มีความสุขขึ้นมา ก็เป็นอารมณ์ที่เกิดทางมโนทวาร มีความเฉย มีความนิ่ง ก็เกิดขึ้นเป็น มโน เรารับรู้ด้วยจิต เป็นจิตอย่างหนึ่ง ที่นี้...จะกระโดดอีกแล้ว...ไล่ตามนะ เราทาตามนิดหนึ่ง ค่อย ๆ วิธี ก็คือ การพัฒนาจิต การดูจิตในจิต


































































































   87   88   89   90   91