Page 20 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาหัวข้อธรรม
P. 20

880
เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีเจตนาที่จะกาหนดรู้อาการพระไตรลักษณ์ เจตนาตรงนั้นจะเป็นกลาง เพราะ มีเจตนากาหนดในลักษณะเดียวกันหมด เราไม่เลือกว่าอันนี้จะต้องเข้าไปยึด อันนี้จะต้องปฏิเสธ แต่มี เจตนาเท่าเทียมกัน คือเข้าไปรู้ว่าอารมณ์ที่กาลังปรากฏเกิดขึ้นมานั้นมีการเกิดดับอย่างไร และมีเจตนา พร้อมที่จะรู้ว่าการกาหนดรู้อารมณ์ในลักษณะอย่างนี้ ผลที่ตามมาเป็นอย่างไร ไม่ว่าเราจะปรารถนาให้มี สติว่องไวเท่าทันอารมณ์ของตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าเราจะปรารถนาที่จะทาให้จิตของเรามีสมาธิมีความตั้งมั่น มากขึ้น หรือไม่ว่าเราจะปรารถนาให้เจอความสงบภายในจิตใจของเรา ก็ด้วยการมีสติกาหนดรู้อารมณ์ ปัจจุบันในลักษณะอย่างนี้นี่แหละ
ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นเวทนา เป็น ความคดิ ไมว่ า่ อารมณน์ นั้ จะเปน็ ความสงบ เปน็ ความมวั สลวั ความสวา่ ง การทเี่ ขา้ ไปกา หนดรอู้ ยา่ งนนี้ แี่ หละ เป็นแนวทางที่จะพัฒนาจิตของเราให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาสติ-สมาธิ-ปัญญาของเราให้แก่กล้ามากขึ้น เพราะวิธี การอย่างนี้เขาเรียกว่า “ภาวนามยปัญญา” ทาให้เราเห็นด้วยตัวเอง และการที่มีเจตนารู้ตรงนี้นี่แหละ เรา จะเห็นถึงคาว่า “ปัจจัตตัง” ผู้ปฏิบัติย่อมเห็นได้ด้วยตาของตัวเอง รู้ได้ด้วยตนเอง “จิตที่สงบ จิตที่ผ่องใส จิตที่สะอาด จิตที่มีความสุข จิตที่นุ่มนวลละเอียดอ่อน จิตที่บริสุทธิ์” เป็นอย่างไร ก็จะเห็นได้ด้วยการ เข้าไปกาหนดรู้ในลักษณะอย่างนี้
จิตก็เป็นจิตโดยสมมติ ถึงแม้ขณะนี้จิตไม่บอกว่าเป็นเรา แต่โดยสมมติจึงเรียกว่าจิตของเรา อย่างเช่น จิตเรามีความสุข เราสงบ เราเบา เราใส เราว่างแบบไม่มีตัวตน นั่นคือเพื่อการสื่อสารกันได้ จึง เรียกในลักษณะอย่างนั้น แต่โดยสภาวะ เราก็รู้สึกได้ทันทีว่า ขณะนี้สภาพจิตใจมีความสงบ ขณะนี้สภาพ จิตใจมีความผ่องใส ขณะนี้สภาพจิตใจมีความสว่าง มีความเบา ขณะนี้สภาพจิตใจมันขุ่น ๆ มัว ๆ สลัว ๆ ไม่สดชื่น ไม่เบิกบาน มีแต่ความเฉื่อย ๆ ซึม ๆ นั่นก็คือสภาพจิตที่กาลังปรากฏอยู่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ใช่สิ่งที่คาดว่าน่าจะเกิด หรือเป็นสิ่งที่เกิดผ่านไปแล้ว นั่นแหละคือการกาหนดรู้อารมณ์ปัจจุบัน
เพราะฉะน้ัน การเจาะสภาวะ เป็นการพัฒนาสติ-สมาธิ-ปัญญาให้แก่กล้า ให้เฉียบแหลมมากขึ้น ควรจะใชบ้ อ่ ย ๆ ใชอ้ ยเู่ นอื ง ๆ เทา่ ทจี่ ะเปน็ ไปได้ ใชอ้ ยา่ งตอ่ เนอื่ ง ไมว่ า่ จะยนื จะเดนิ จะนอน จะนงั่ กนิ ดมื่ ทา พูด คิด... อย่างที่บอกแล้วว่า แม้ขณะพูด เราก็สามารถกาหนดรู้อาการเกิดดับของคาพูดได้ ถ้านัก ปฏิบัติกาหนดอาการเกิดดับของคาพูดตัวเองได้ก็ถือว่าเก่ง ก็ถือว่าพัฒนาไปอีกระดับหนึ่ง ในขณะที่เราฟัง คาพูดของคนอื่น เราก็กาหนดรู้อาการเกิดดับของคาพูดนั้นได้เช่นกัน โดยการกาหนดเสียงที่กาลังปรากฏ เกิดขึ้น ขณะที่เราฟังเสียงและกาหนดรู้อาการเกิดดับของเสียง ก็เป็นการกาหนดรู้เสียง ซึ่งเป็นอาการของ รูปภายนอก
แต่ถ้าขณะที่เราฟังเสียงอยู่ แล้วสติหรือตาเรามองไปที่อาการขยับของริมฝีปากในแต่ละขณะ ๆ ก็ เป็นการกาหนดรู้อาการเกิดดับของรูปที่อยู่เฉพาะหน้า ซึ่งไม่ใช่เสียง แต่เป็นอาการของรูปที่เกิดจากการ เห็น เหมือนอย่างที่เราสังเกตอาการเดินของสัตว์ต่าง ๆ ของนก ของแมว ของสุนัข เห็นเขาก้าวไปแล้วก็ ดับแป๊บ ดับแป๊บ ดับแป๊บไปเป็นขณะ เป็นจังหวะ นั่นก็คือการกาหนดรู้อาการเกิดดับของอารมณ์ภายนอก


































































































   18   19   20   21   22