Page 119 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 119

95
เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเกี่ยวกับธัมมจักกัปปวัตตนสูตร การ ดาเนินไปของธรรมทั้งหลาย ตั้งแต่เริ่มเป็นอนิจจัง ทุกขัง จนถึงความเป็น อนัตตา พระอัญญาโกณฑัญญะได้พิจารณาธรรมตาม แล้วเข้าใจในธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงแสดง ที่เรียกว่า “เกิดดวงตาเห็นธรรม” เข้าใจในสัจธรรม จึงทูลขอบวชกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็อนุญาตให้บวชโดยเอหิภิกขุ อุปสัมปทา “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด” ตรงนั้นแหละพระสงฆ์จึงเกิดขึ้นใน ศาสนาของเรา พระรัตนตรัยเกิดสมบูรณ์ พระรัตนตรัยสมบูรณ์ขึ้น ตรงที่ พระอัญญาโกณฑัญญะได้บวชเป็นพระ
ฉะนั้นเรามาวันนี้ เรามาระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าได้แสดง ธรรม แล้วธรรมะที่พระอัญญาโกณฑัญญะเข้าใจก็คือคาว่า “สิ่งหนึ่งสิ่งใด เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็ย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา”... “สิ่งหนึ่งสิ่งใด” ตรงนี้คืออะไร ? ธรรมเหล่านี้ที่แสวงกันอยู่ สภาวธรรมที่มีการเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา มีการดับไปเป็นธรรมดา จริง ๆ ทุก ๆ สภาวะที่เรารับรู้ได้รอบตัว เราก็คือ “ธรรมะ” ธรรมชาติ ก็คือ ธรรมะทั้งหมด แต่ธรรมะที่เราเห็นและ เราเข้าใจได้ เมื่อเราเห็น เราเข้าใจ เข้าถึงแล้ว ทาให้จิตเราคลายจากอุปาทาน หรือดับทุกข์ คือเห็นธรรมะอย่างไร ก็เห็นสัจธรรมนั่นเอง
ทีนี้ “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง” เราย่อลงมานิดหนึ่ง ก็คืออาการรูปนาม ขันธ์ห้านี่แหละ เวลาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม มักยกเอาเรื่องของขันธ์ห้ามา เป็นประธาน ก็เรื่องของรูปนามนั่นแหละ ว่าขันธ์ห้าเป็นของหนัก เป็นที่ตั้ง แห่งกองทุกข์ เพราะอะไร ? เป็นที่ตั้งของความยึดมั่นนั่นเอง ขันธ์ห้าคือ ตัวเรา มี “รูป” คือร่างกาย มี “เวทนา” ความรู้สึกดีไม่ดี มีความปวดความ เมื่อยอาการชาอาการคันต่าง ๆ แม้เวทนานั้นจะเกิดทางจิตเรา ที่เป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนา “สัญญา” คือความจา จาเรื่องราวต่าง ๆ ทา หน้าที่จา
“สังขาร” การปรุงแต่ง การปรุงแต่งมีสองส่วน ก็คือ ร่างกายของเรา


































































































   117   118   119   120   121