Page 232 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 232

208
ความเคารพ เพื่อทาการบูชาพระองค์ ที่เราบูชานี่เขาเรียก “อามิสบูชา” บูชา ด้วยอามิสด้วยสิ่งของ มีธูปเทียนดอกไม้ แต่ “ปฏิบัติบูชา” นั้นเป็นสิ่งสาคัญ เราปฏิบัติบูชา เราเป็นทั้งผู้ให้และผู้ได้ เราให้ความศรัทธา ความเคารพ ความ ตั้งมั่นในธรรมในความดี แล้วถ้าเราปฏิบัติตามได้ เราก็จะได้รับประโยชน์
ทีนี้การที่เราจะดับทุกข์ ก่อนอื่นเบื้องต้น เราต้องมาพิจารณารู้ความ จริงข้อหนึ่ง ถึงความเป็นธรรมชาติธรรมดาของรูปนาม ของกายของจิต หรือ ธรรมชาติของขันธ์ ๕ ย่อลงมาก็คือรูปนามนี้แหละ ธรรมชาติของ ๒ สิ่งนี้ ลองพิจารณาดูให้ดีว่าสิ่งไหนบ้างที่เป็นของเรา การที่เราจะพิจารณาเห็นถึง ความเป็นเราหรือไม่เป็นเรา หรือเห็น ๒ สิ่งนี้เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละ ส่วน หรือเห็นเป็น ๒ อย่างได้ ต้องใช้ “สติ - ปัญญา” พิจารณา
คาว่า “พิจารณา” ไม่ใช่การคิด แต่คือการสังเกต หรือกาหนดรู้ถึง ธรรมชาตขิ องรปู นามทกี่ า ลงั เปน็ ไป อยา่ งทเี่ รากา ลงั นงั่ อยนู่ ี้ เราขอขนึ้ กรรมฐาน เพื่อการปฏิบัติธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เราทาได้ ๒ อย่าง เมื่อกี้เป็น อามิสบูชา ตอนนี้ขณะที่ฟังธรรมเป็นการปฏิบัติบูชาไปในตัว ทาอย่างไรถึง จะเป็นการปฏิบัติบูชาไปในตัว ? การฟังธรรมก็เป็นอย่างหนึ่ง และอีกอย่าง หนึ่ง ถ้าฟังแล้ว เราปฏิบัติไปพร้อมกัน และทาได้ด้วย นั่นแหละคือการ ปฏิบัติบูชา
ทีนี้เรามาพิจารณาสภาวธรรมที่เป็นจริง ลองแยกรูปนาม แยกกาย แยกจิตของเราออกจากกัน ลองยกจิตขึ้นสู่ความว่าง ทาจิตให้ว่าง ๆ เอาความ รู้สึกว่าเป็นเราออก ไม่มีตัวตน ไม่มีเรา... ทาจิตให้ว่าง ให้กว้าง ให้เบา ให้โล่ง ให้โปร่ง เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก ไม่มีเรา มีแต่จิตที่ว่าง ๆ เบา ๆ กับ ตัวที่นั่งอยู่ หรือที่เรียกว่ามีแต่จิตที่ว่างเบากับรูปที่นั่งอยู่ จากนั้นมาพิจารณาดู อาการของรูป บริเวณตัวเราก่อนว่ามีอาการอะไรปรากฎขึ้นมา... มีอาการของ ลมหายใจปรากฎขึ้นมา มีอาการพองยุบปรากฎขึ้นมา มีอาการกระเพื่อมไหว ปรากฎขึ้นมา ? ลองดูสิว่า มีอาการอย่างไร ?


































































































   230   231   232   233   234