Page 233 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 233

209
เมื่อมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เราก็พิจารณาดูสังเกตดู ว่า อาการต่าง ๆ เหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงไหม มีอาการอย่างไร แสดงอาการ พระไตรลักษณ์ไหม แล้วนอกจากเห็นว่าเขาเปลี่ยนแปลงอย่างไร สังเกตดูว่า จิตของเรากับอาการเหล่านั้นเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน การที่สังเกต ในลักษณะอย่างนี้เพื่อให้เราเห็นชัดด้วยตนเอง ที่เรียกว่า “เป็น ปัจจัตตัง” เห็นชัดด้วยตนเองว่ารูปนามกายใจอันนี้เขาเป็นอย่างไร เป็นสิ่งเดียวกันอย่าง ที่เราเข้าใจหรือเปล่า ? หรือว่าเขาเป็นคนละส่วนกัน ?
ถ้าเราเห็นชัดว่าเป็นคนละส่วนกัน นั่นเราเห็นตามความเป็นจริง ตาม ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่ารูปนามขันธ์ ๕ ย่อลงมาเหลือแต่รูปกับนามคือกาย กับใจ และไม่เป็นอันเดียวกัน เขาแยกส่วนกัน เขาเป็นคนละขันธ์ ระหว่าง รูปขันธ์กับนามขันธ์ รูปขันธ์คือร่างกายของเรา นามขันธ์ก็คือจิตที่ทาหน้าที่รู้ เมื่อเห็นความจริงตรงนี้ ขณะที่เห็นรูปนามเป็นคนละส่วนกัน จากนั้นลอง พิจารณาต่อไปว่า นามหรือจิตที่ทาหน้าท่ีรู้เขาบอกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? หรือ เปน็เพยีงความรสู้ึกหรือจติทที่าหนา้ทรี่เู้ทา่นนั้?ตวัทนี่งั่อยเู่ขาบอกว่าเปน็ใคร หรือเปล่า ขณะที่เห็น ๒ อย่างนี้แยกจากกัน ?
คาว่า “เขาบอกว่าเป็นใครหรือเปล่า” ไม่ได้จาได้ว่าเขาเป็นใคร หมาย ถึงว่าเขาบอกว่าเป็นใครไหม ถ้าเราถามแบบนั้น เขาจะตอบไหมว่าเขาเป็นใคร หรือเขาไม่บอกว่าเป็นใคร สักแต่ว่าเป็นสิ่ง ๆ หนึ่งที่ตั้งอยู่เท่านั้นเองหรือ เปล่า ? ถ้าเห็นว่าสักแต่ว่าเป็นสิ่ง ๆ หนึ่งที่ตั้งอยู่เท่านั้นเอง แล้วเห็นไหมว่า อะไรบ้างที่บอกว่าเป็นของเรา ? เมื่อไม่บอกว่าเป็นของเรา แล้วจะเป็นใคร ? ไม่เป็นเราแล้วเป็นใครไหม ? หรือเป็นแค่สักแต่ว่ารูปกับนามเท่านั้นเอง ? สัก แต่ว่าใจที่ทาหน้าที่รู้กับกายที่นั่งอยู่เท่านั้นเอง ?
เมื่อเป็นอย่างนั้น หมายถึงอะไร ? นั่นแหละคือ “ความเป็นอนัตตา” ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เมื่อรูปนามเหล่านี้ไม่ได้บอกว่าเป็นใคร ไม่ เป็นเราเป็นเขา ลองสังเกตดูว่า เมื่อเห็นตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว สภาพจิตใจ


































































































   231   232   233   234   235