Page 234 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 234

210
เราเป็นอย่างไร ? ทาให้จิตใจเรารู้สึกอย่างไร ? รู้สึกหนัก รู้สึกเบา ๆ รู้สึก ว่าง ๆ ? มีอุปาทานหรือเปล่า ? มีการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในรูปว่าเป็นของเรา ไหม ? หรือเป็นแต่เพียงผู้รู้ เป็นแต่เพียงผู้ดู ? เมื่อเห็นความเป็นจริงเหล่านี้ แล้ว จะเข้าใจว่าอย่างไร ? อันนี้อย่างหนึ่งที่พึงพิจารณา
และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เมื่อเห็นเป็นคนละส่วนกัน อย่างที่บอก ตอนแรกว่า ให้กลับมาพิจารณาดูอาการภายในกายของเราว่ามีอาการอย่างไร บางคนก็รู้สึกว่ามีอาการของลมหายใจเข้าออก ขึ้นลง ขึ้นลง... บางทีก็ชัดตรง จมูกบ้าง ชัดที่บริเวณหทยวัตถุบ้าง บางคนก็รู้สึกถึงอาการกระเพื่อมไหวที่ ท้องบ้าง แต่ละคนอาจจะชัดตาแหน่งที่แตกต่างกัน บางคนชัดที่ลมหายใจ เข้าออก แต่บางคนชัดที่อาการกระเพื่อมไหวที่ท้อง ซึ่งเรียกว่าพองยุบ หรือ จะเรียกว่าอะไรก็ตาม บางคนหายใจไม่ทั่วท้อง และรู้ถึงอาการกระเพื่อม บริเวณหัวใจแทน...
เมื่อเป็นในลักษณะอย่างนี้ สิ่งที่เราต้องพิจารณาก็คือ อารมณ์ไหน ที่ชัดสาหรับเรา อาการไหนที่ปรากฎชัดสาหรับเรา ก็ให้ตามรู้อาการนั้น ขณะ ที่เราตามรู้ ตามรู้อะไร ? ตามรู้การเปลี่ยนแปลง ตามรู้ถึงลักษณะการเกิด ขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป หรือที่เรียกว่า “อาการพระไตรลักษณ์” ตามรู้การ เปลยี่ นแปลงคอื ความเปน็ อนจิ จงั ตามรถู้ งึ การเกดิ ขนึ้ ดบั ไป เขาเรยี ก “ทกุ ขงั ” หรือ “ทุกขลักษณะ” ตามรู้การเปลี่ยนแปลง ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เกิดแล้วดับไป บังคับเขาไม่ได้ นั่นคือลักษณะของ “ความเป็นอนัตตา”
เพราะฉะนั้น การพิจารณาตามรู้ธรรมชาติของรูปนามที่เป็นไปตาม ความเป็นจริงที่กาลังปรากฎอยู่แก่เราในขณะนี้ หรือปรากฎชัดในความรู้สึก ปรากฎชัดแก่ใจเรา ว่าเขาเป็นแบบนี้ แบบนี้... เมื่อพิจารณาให้ดี สังเกตให้ ละเอียดเข้าไปอีกว่า จากที่เราเห็นมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะอย่างนี้ ต่อ ไปถ้าใส่ใจมากขึ้นเขาจะเปลี่ยนไปอย่างไร ทั้งลักษณะการเปลี่ยนแปลง การ


































































































   232   233   234   235   236