Page 236 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 236

212
ละส่วนแต่จิตเราแคบกว่าอารมณ์ แคบกว่าเวทนา เล็กกว่าเวทนา กับเห็น ความเป็นคนละส่วน แล้วจิตเราใหญ่กว่าเวทนาหรือกว้างกว่าเวทนา มีช่อง ว่างระหว่างเวทนากับความรู้สึก ถ้าเป็นในลักษณะอย่างนี้ ก็จะส่งผลต่างกัน
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่โยคีจะต้องพิจารณาหรือสังเกตว่า ขณะที่เห็น เป็นคนละส่วนก็จริง แต่จิตเราเล็กกว่าเวทนานั้น ส่งผลต่อเราเป็นอย่างไร ? ขณะที่เห็นจิตเรากับเวทนาเป็นคนละส่วนกัน และจิตใหญ่กว่าเวทนานั้น เป็น อย่างไร ? ส่งผลดีหรือไม่ดี ? ให้ผลต่างกันอย่างไร ? ทาไมต้องรู้ถึงความ แตกต่าง ? ที่ต้องรู้ถึงความแตกต่างเพื่อเราจะได้รู้ว่าเมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น จะ ใช้จิตประเภทไหนในการรับรู้เวทนา ความทุกข์ถึงไม่เกิด หรืออกุศลถึงจะ ไม่เกิดขึ้น ทาอย่างไรจิตเราจะมีกาลังกว่าเวทนา อันนี้อย่างหนึ่ง
แล้วที่สาคัญ อย่างที่บอกว่าแม้เวทนาที่เกิดขึ้น เราก็ต้องพิจารณาถึง ความเป็นธรรมชาติของเวทนาเอง คือเราพิจารณาถึงกฎของธรรมชาติหรือ กฎของไตรลักษณ์ ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป บังคับ บัญชาไม่ได้ ไม่มีอะไรเป็นของเรา เพราะฉะนั้น ธรรม ๓ อย่างนี้พึงระลึกไว้ เสมอว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรม ทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าสภาวธรรมใด ๆ ปรากฏขึ้นมาให้เราได้รับรู้ ไม่ว่า จะเป็นเวทนา เป็นความคิด ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง หนัก เบา ให้พิจารณาถึงกฎของไตรลักษณ์ เพื่อจะได้เห็นตามความเป็นจริง ว่าสภาว- ธรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้น ที่บอกว่าไม่เที่ยงนั้นเป็นอย่างไร เกิดขึ้นแล้วดับ ไปนั้นเป็นอย่างไร ที่ให้สังเกตซ้า ๆ เพราะว่าการกาหนดรู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้ง อยู่ ดับไป ในแต่ละขณะนั้นมีความแตกต่างกันไป ทาไมถึงแตกต่างกัน ? ที่แตกต่างกันเพราะกาลังของสติ สมาธิ และปัญญาของเราเปลี่ยนไป อายุ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจะตั้งอยู่นานหรือสั้นลง ก็อยู่ที่กาลังของสติ สมาธิ และ ปัญญาของเรานั่นเอง


































































































   234   235   236   237   238