Page 237 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 237

213
เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณาทุก ๆ ขณะ ทุก ๆ อารมณ์ที่ปรากฏ ขึ้นมา ว่าเขาเกิดดับเปลี่ยนแปลงต่างจากเดิมอย่างไร ตรงที่เราเห็นถึงความ แตกต่างของลักษณะการเกิดดับของอารมณ์ต่าง ๆ นั้น ทาให้ปัญญาเรามี ความละเอียด มีความลึกซึ้งมากขึ้น ไม่ใช่แค่รู้ว่าเกิดแล้วเดี๋ยวเขาก็ดับ ไปเอง อารมณ์เหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เดี๋ยวเขาก็ดับ เดี๋ยวเขาก็ดับ... รู้ว่าดับ แต่ยังทุกข์อยู่ ก็ไม่ดี! ถ้ามีความทุกข์เกิดขึ้น ก็ดูว่าเขาดับอย่างไร มีความสุข เกิดขึ้น ก็เข้าไปรู้ว่าความสุขเปลี่ยนอย่างไร มีความใสเกิดขึ้น ก็เข้าไปรู้ความ ใสเปลี่ยนอย่างไร มีความสงบเกิดขึ้น เข้าไปรู้ในความสงบอีกว่าเป็นอย่างไร ไม่ว่าอารมณ์ไหน ๆ ขึ้นมา ก็เข้าไปรู้ว่าเขามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
แม้แต่ความว่างเอง ความว่างของอะไรที่มีการเปลี่ยนแปลง ? ความ ว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องเป็นความว่างของจิต เราต้องรู้ชัดหรือรู้สึกได้ว่า จิตเราว่าง ไม่ใช่แค่สักแต่ว่าว่าง ๆ รู้ว่าจิตว่าง จิตเบา จิตสงบ จิตนิ่มนวล อ่อนโยน จิตผ่องใส เพราะธรรมชาติของจิตเองก็เป็นของไม่เที่ยง เมื่อเรา เข้าไปพิจารณารู้ถึงการเปลี่ยนแปลง เราก็จะไม่ติดแค่ความใสตรงนี้ ไม่ได้ ติดแค่ความสุขที่กาลังปรากฏอยู่ตรงนี้ ไม่ได้ติดแค่ความสงบที่กาลังเป็นอยู่ ตรงนี้ จะได้เห็นต่อไปว่าความสงบความสุขต่อจากนี้เป็นอย่างไร ต่างจาก เดิมอย่างไร นั่นหมายถึงว่าจิตของเราพัฒนาไปอย่างไร
เพราะฉะนั้น การที่เราพิจารณารู้ชัดในอาการที่เกิดขึ้น แล้วรู้ชัดถึง ความเปลี่ยนแปลง ถึงการเกิดดับ เห็นธรรมชาติตรงนี้เรียกว่าอะไร ? เห็น ตามความเป็นจริงเมื่อไหร่ เขาเรียก “สัมมาทิฏฐิ” ความเห็นตามความเป็นจริง ความเห็นชอบ เห็นตรง เห็นถูกต้อง ตามธรรมชาติที่เขาเป็นจริง ๆ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป บังคับบัญชาไม่ได้... แล้วทาไมเราถึงยึดมั่นถือมั่นว่ารูปนามอันนี้เป็นของเรา เป็นของเขา แล้วทาให้จิตเศร้าหมองเป็นทุกข์เกิดขึ้นมา ? นั่นคือสิ่งที่เราจะ ได้เห็นชัด พิจารณารู้ชัด ถึงความเป็นไปของรูปนามของเรา ถึงธรรมชาติ


































































































   235   236   237   238   239