Page 239 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 239

215
ไม่ใช้ก็เหมือนไม่มี
เพราะฉะนั้น จิตที่ว่าง จิตที่โล่ง ที่โปร่ง ที่เบา ที่สงบ จิตที่มีความ
สุข ที่เราได้เจอ ได้เห็น และทาเป็นแล้ว ถ้าอยากให้อยู่นาน ๆ จงหมั่นใช้เขา บ่อย ๆ ใช้จิตที่ว่าง จิตที่ดีบ่อย ๆ ไม่เหมือนใช้คนบ่อย ๆ ใช้จิตที่ว่าง บ่อย ๆ เขาจะอยู่กับเรานาน แต่ใช้คนบ่อย ๆ เดี๋ยวเขาจะเบื่อเรา! ใช้จิต ที่ว่างบ่อย ๆ ทาจิตของเราให้ว่าง แล้วเอาจิตที่ว่างที่เบาทาหน้าที่รับรู้ทุก ๆ อารมณ์ในชีวิตประจาวันของเรา ไม่ว่าอารมณ์จะเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ตาม ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทา พูด คิด ใช้จิตที่ว่างทาหน้าที่รับรู้ หรือให้อยู่ในบรรยากาศของความว่างอยู่เนือง ๆ แล้วเขาก็จะอยู่กับเราได้นาน
การทาอย่างนี้ทาให้สติเรามีความต่อเนื่อง ยิ่งเราอาศัยใจทั้งวัน สติ ก็จะอยู่กับเราตลอดทั้งวัน แล้วไม่ใช่แค่อยู่เท่าเดิม ยิ่งใส่ใจมากเท่าไหร่ สติ ก็จะยิ่งไวมากขึ้น ยิ่งใส่ใจมากเท่าไหร่ ก็จะเห็นรายละเอียดของสภาวธรรม ได้มากขึ้น ยิ่งใส่ใจเท่าไหร่ เราก็จะเห็นชัดถึงว่าจิตใจเราเป็นอย่างไร อาการ ของรูปนามเป็นไปอย่างไร ยิ่งชัดเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งคลายจากอุปาทานได้ มากเท่านั้น เพราะฉะนั้น การที่เรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน แล้วใช้จิตที่ว่าง ทาหน้าที่รับรู้อารมณ์บ่อย ๆ ความว่างก็จะอยู่กับเราต่อเนื่องไปได้นาน
แล้วก็ไม่ได้ว่างแค่นี้ ยิ่งใช้เขายิ่งว่าง ยิ่งใช้เท่าไหร่ ความว่างยิ่งมีกาลัง ยิ่งใช้ความไม่มีตัวตนในการรับรู้ ความมีตัวตนยิ่งน้อยลง ใช้ความรู้สึกใช้ใจ ที่ไม่มีตัวตนในการรับรู้กับชีวิตประจาวันของเรามากเท่าไหร่ ความเป็นเราจะ น้อยลงไปเรื่อย ๆ จนแม้ที่สุดแล้วเหลือแต่ “สติ” กับ “ปัญญา” ที่พิจารณารู้ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปอย่างไร จะได้เข้าใจถึงเหตุ ปัจจัยของทุก ๆ อารมณ์ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร เมื่อเข้าใจถึงธรรมชาติของเหล่านั้น เราจะไม่คล้อย ตาม หรือไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เราจะรู้สึกว่าอันไหนที่เราถือแล้ว เราจะวาง ลงอย่างไรถึงจะไม่หนัก นั่นคือพิจารณารู้ตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้น ที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์


































































































   237   238   239   240   241