Page 429 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 429

405
ลองสังเกตดูนะ ขณะที่เรามีความสงบอยู่ข้างหน้า แล้วรับรู้ผ่านบรรยากาศ ของความสงบ...
ลักษณะอย่างหนึ่งคือ เรารับรู้ผ่านบรรยากาศของความสงบ แต่ให้ อารมณ์นั้น “เกิดในความสงบ” ด้วย แสดงว่าต้องมีช่องว่างระหว่างความรู้สึก เรากบั อารมณ์ ชอ่ งวา่ งระหวา่ งความรสู้ กึ กบั อารมณก์ จ็ ะเปน็ ความสงบ รอบ ๆ อารมณ์นั้นก็สงบด้วย อันนี้อย่างหนึ่ง... อีกอย่างหนึ่ง เรามีบรรยากาศของ ความสงบ แต่ให้อารมณ์นั้นอยู่ “นอกบรรยากาศ” ของความสงบของเรา ดูว่ารู้สึกอย่างไร ? อารมณ์ที่อยู่นอกบรรยากาศรู้สึกมีกาลังหรือไม่มี กาลัง ? แล้วอารมณ์ที่อยู่นอกบรรยากาศกับความรู้สึกของเรา อันไหนมี กาลังมากกว่ากัน ? ตรงนี้ส่งผลถึงว่าทาให้กิเลสเกิดหรือไม่ ?
เพราะจิตที่สงบ ถ้าเป็นขณะใหญ่ มันก็เหมือนเป็นเรื่องปกติของ ชีวิตเรา เราอยู่ในบรรยากาศ กลายเป็นว่าเราอยู่ด้วยจิตที่สงบ ธรรมะเป็น เครื่องอยู่ของเราคือตัวไหน ? มีความสงบเป็นที่อยู่ มีความใสเป็นที่อยู่ เขา เรียก “เป็นวิหารธรรม” มีความเมตตา มีความอ่อนโยนรองรับ พอรู้สึก เมื่อไหร่ เรามีความสุข มีความอ่อนโยน แล้วมีบรรยากาศของความอ่อนโยน ทกี่ วา้ งรองรบั นนั่ คอื บา้ นของเรา เปน็ วหิ ารของเรา เปน็ ทอี่ ยขู่ องเราในขณะนนั้ เป็นวิหารธรรม ท่านอยู่ด้วยธรรมประเภทไหน ? ท่านอยู่ด้วยธรรมข้อไหน ? ถ้าอยู่ด้วยอุเบกขา ก็นิ่ง ๆ ไม่สนใจ มีบรรยากาศเฉย ๆ วางเฉยกับอารมณ์ ต่าง ๆ ถ้าอยู่ด้วยความสงบ ก็อย่างที่บอกแล้ว... ตรงนี้อยู่ที่เจตนานะ
ที่บอกว่าเราให้บรรยากาศของความสงบกว้าง และให้อารมณ์นั้น เกิดในความสงบด้วย พอรู้ เขาดับอย่างไร ? แล้วถ้าอารมณ์นั้นอยู่นอก บรรยากาศของความสงบ ? อารมณ์เหล่านี้อยู่ที่เจตนาของเรา ไม่ใช่ว่า ปล่อยตามยถากรรมเขาจะเกิดอย่างไรก็เกิด เพราะเราเป็นผู้กาหนดจิต ของเรา เราก็เป็นผู้กาหนดให้อารมณ์นั้นอยู่ตรงไหน เพราะอะไร ? เพราะ อารมณ์นั้นไม่ได้เกิดจากใจของเรา ไม่ได้เกิดจากภายในรูป แม้แต่อารมณ์


































































































   427   428   429   430   431