Page 84 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 84

60
ไปเสี้ยววินาที กิเลสก็เกิดแล้ว ความคิดเรื่องที่ดีก็ดีไป ถ้าเป็นความคิดที่ ไม่ดี ถ้าเราเผลอสติเพียงเสี้ยววินาที จิตเราปรุงแต่งไปตั้งมากมาย เพราะ ฉะนั้น เมื่อมีความคิดเกิดขึ้น ให้มีความพอใจที่จะกาหนดรู้อาการเกิดดับ ของความคิดทันที
นักปฏิบัติต้องมีเจตนาที่จะเข้าไปรู้อาการเกิดดับของความคิดเป็น หลัก เมื่อมีเจตนาอย่างนี้ ความคิดก็จะเป็นอารมณ์กรรมฐานของเรา ที่เรียก ว่า “ดูจิตในจิต” ตามรู้จิตในจิต... การดูจิตในจิต นอกจากรู้ว่าความคิดเกิด ดับในลักษณะอย่างไรแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ขณะที่เห็นว่าจิตกับความ คิดเป็นคนละส่วนกัน สภาพจิตใจขณะนั้นเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร.. รู้สึก หนัก รู้สึกเบา รู้สึกโล่ง รู้สึกโปร่ง รู้สึกสงบ รู้สึกอึดอัด อันนี้คือการดูจิตใน จิตอย่างหนึ่ง ดูว่าจิตเบา จิตโล่ง จิตโปร่ง จิตสงบ
และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า จิตที่เข้าไปรู้อาการเกิดดับของความคิด แต่ละขณะ เวลาความคิดนั้นดับไป จิตที่ทาหน้าที่รู้ดับไปด้วยหรือไม่ เป็น สามขั้นตอน หนึ่ง.. รู้ว่าคิดอะไร และความคิดเกิดดับในลักษณะอย่างไร สอง.. รู้ว่าสภาพจิตเป็นอย่างไร สาม.. รู้ว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้ความคิดที่เกิดขึ้น แต่ละขณะนั้น ขณะที่อาการนั้นดับไป จิตดับไปด้วยหรือไม่ ให้พิจารณาใน ลักษณะอย่างนั้น
ในการพิจารณาสภาวธรรมที่เรากาลังตามรู้อยู่ คืออาการเกิดดับ ของรูปนามที่กาลังเป็นไป คือการพิจารณาสภาวธรรมไปในตัว ถ้าพิจารณา แล้วไม่มีตัวตน ไม่มีกิเลสเกิดขึ้น ก็ไม่ต้องไปกังวลกับสภาวะที่เกิดขึ้น ให้ ตามกาหนดรู้ถึงอาการเกิดดับเท่านั้นเป็นพอ และให้รู้ถึงอาการเกิดดับกับ สภาพจิตหรือจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ แต่ละขณะ ว่าเป็นไปใน ลักษณะอย่างไร รู้สึกอย่างไร ยิ่งตามกาหนดรู้มากเท่าไหร่ ทาให้สภาพจิต เราเป็นอย่างไร.. ยิ่งใสขึ้น ตื่นตัวมากขึ้น สว่างขึ้น สงบขึ้น หรือว่าเป็นไปใน ลักษณะอย่างไร


































































































   82   83   84   85   86